การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย

การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้ : Linkhttp://www.s-work.com/roofframe.html

ข้อบัญญัติกทม. เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างฯ

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท:
Linkhttp://www.asa.or.th/?q=node/98703#bb1

บริการออกแบบสีบ้าน ฟรี

ศูนย์บริการออกแบบสี Linkhttp://www.dulux.co.th/contact_us_colour_design_service.jsp

บ้านทรงไทย

สามารถดาวน์โหลดแบบบ้านทรงไทย
Link http://bansongthai.com/

รวม แบบฟอร์มสัญญา ต่างๆ

สัญญาเช่า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขาย
ลิงค์linkhttp://www.buncheeaudit.com/Contact_form.htm

ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2554

สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
ดาวโหลด ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2554 คลิกที่นี่

การขอทราบราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์

1. กรมที่ดินมีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ที่ดิน โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดโดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้

(1) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายแปลง ซึ่งขณะนี้ใช้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต เทศบาลเมืองหลัก 5 เทศบาล คือ สมุทรปราการ นนทบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ และพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และสุขาภิบาลสำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ
(2) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างทุกจังหวัด ตามแบบมาตรฐานที่กำหนดไว้ 46 แบบ
(3) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
(4) เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กรุงเทพมหานครและคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น จัดประชุม รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการดังกล่าว
สำหรับการจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายบล็อก (Block) ซึ่งใช้อยู่ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ประจำจังหวัด จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ให้คำแนะนำและอบรมวิธีการจัดทำบัญชีดังกล่าวแก่สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้การจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นมาตรฐานเดียวกันพร้อมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบกลั่นกรองก่อนนำเสนอคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป

2. การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

(1) บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยปกติประชาชนทั่วไปสามารถขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่แต่หากต้องการคัดสำเนาบัญชี หรือรูปแผนที่ประกอบบัญชี หรือขอให้ออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินแปลงใด ผู้ขอจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น โดยผู้ขอจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอคัดหรือขอรับรองราคาประเมินตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีความประสงค์เพียงเพื่อขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองก็อาจขอดูได้ที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน) ซึ่งมีบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทั่วประเทศไว้บริการ โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินท้องที่ แต่การบริการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ราคาประเมินที่ดินแบบรายบล็อก เพราะหากผู้ขอไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่แน่นอนว่าอยู่ในบล็อคใดและหน่วยใดแล้ว ก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงนั้นมีราคาประเมินทุนทรัพย์เท่าใด ฉะนั้นในกรณีนี้ ผู้ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินจำเป็นจะต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างดีด้วยจึงจะสามารถทราบราคาที่ดินที่ถูกต้องได้
(2) หลักฐานที่จะต้องนำไปประกอบคำขอ


1. โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก, ฯลฯ หรือสำเนาเอกสารดังกล่าว (กรณีไม่สามารถนำมาได้)
2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าว ในกรณีมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าวที่รับรองสำเนาแล้วของผู้มอบอำนาจมาด้วย
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ ในกรณีมอบอำนาจต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
4. หลักฐานของนิติบุคคล หรือหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีไม่สามารถไปด้วยตนเอง

(3) ยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
(4) ค่าใช้จ่ายในการรับรองราคาประเมิน

- ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
- ค่ารับรองฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานคำขอเรื่องละ 20 บาท
- ค่ามอบ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท
ที่มา กรมที่ดิน

ราคาประเมินที่ดินกรุงเทพฯ และนนทบุรี พ.ศ. 2551 - 2554

1. เขตบางรัก ตารางวาละ 34,000 - 650,000 บาท (แพงสุดถนนสีลม)
2. เขตสาทร ตารางวาละ 17,000 - 420,000 บาท (แพงสุดถนนสาทรใต้)
3. เขตยานนาวา ตารางวาละ 10,000 - 250,000 บาท (แพงสุดถนนนราธิวาสราชนครินทร์)
4. เขตบางคอแหลม ตารางวาละ 10,000 - 280,000 บาท (แพงสุดถนนเจริญกรุง)
5. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตารางวาละ 40,000 - 420,000 บาท (แพงสุดถนนเจริญกรุง)
6. เขตปทุมวัน ตารางวาละ 34,000 - 400,000 บาท (แพงสุดถนนเพลินจิต)
7. เขตสัมพันธวงศ์ ตารางวาละ 40,000 - 550,000 บาท (แพงสุดถนนสีลม)
8. เขตพระนคร ตารางวาละ 15,000 - 500,000 บาท (แพงสุดถนนสำเพ็ง)
9. เขตดุสิต ตารางวาละ 10,000 - 260,000 บาท (แพงสุดถนนหลานหลวง)
10. เขตบางซื่อ ตารางวาละ 10,000 - 160,000 บาท (แพงสุดถนนกรุงเทพฯ - นนทบุรี)
11. เขตลาดกระบัง ตารางวาละ 1,000 - 47,000 บาท (แพงสุดถนนอ่อนนุช - ลาดกระบัง)
12. เขตหนองจอก ตารางวาละ 850 - 21,000 บาท (แพงสุดถนนบุรีภิรมย์)
13. เขตมีนบุรี ตารางวาละ 1,100 - 100,000 บาท (แพงสุดถนนสีหบุรานุกิจ)
14. เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา ตารางวาละ 2,000 - 170,000 บาท (แพงสุดถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า)
15. เขตหนองแขม เขตบางแค เขตภาษีเจริญ ตารางวาละ 6,000 - 120,000 บาท (แพงสุดถนนเพชรเกษม)
16. เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง ตารางวาละ 1,700 - 55,000 บาท (แพงสุดถนนประดิษฐ์มนูธรรม)
17. เขตประเวศ เขตสวนหลวง ตารางวาละ 5,000 - 130,000 บาท (แพงสุดถนนพัฒนาการ)
19. เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง ตารางวาละ 1,700 - 60,000 บาท (แพงสุดถนนประดิษฐ์มนูธรรม)
20. เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตจอมทอง ตารางวาละ 500 - 68,000 บาท (แพงสุถนนพระราม 2)
21. เขตบางกะปิ เขตวังทองหลาง ตารางวาละ 3,000 - 140,000 บาท (แพงสุดถนนรามคำแหง)
22. เขตพระโขนง เขตบางนา เขตคลองเตย เขตวัฒนา ตารางวาละ 5,300 - 350,000 บาท (แพงสุดถนนสุขุมวิท)
23. เขตบางกอกใหญ่ เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตธนบุรี ตารางวาละ 2,000 - 150,000 บาท (แพงสุดถนนลาดหญ้า)
24. เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี ตารางวาละ 8,500 - 250,000 บาท (แพงสุดถนนเพชรบุรี)
25. เขตสายไหม ตารางวาละ 2,600 - 120,000 บาท (แพงสุดถนนพหลโยธิน)
26. เขตบางเขน ตารางวาละ 2,600 - 120,000 บาท (แพงสุดถนนพหลโยธิน)
27. เขดดอนเมือง คารางวาละ 7,500 - 100,000 บาท (แพงสุดถนนงามวงศ์วาน)
28. เขตจตุจักร ตารางวาละ 6,000 - 170,000 บาท (แพงสุดถนนงามวงศ์วาน)
29. อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 35,000 - 96,000 บาท (แพงสุดถนนงามวงศ์วาน)
30. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 12,000 - 50,000 บาท (แพงสุดถนนกาญจนาภิเษก)
31. อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 10,000 - 80,000 บาท (แพงสุดถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนกาญจนาภิเษก)
32. อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 10,000 - 96,000 บาท (แพงสุดถนนแจ้งวัฒนะ)
33. อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 8,000 - 72,000 บาท (แพงสุดถนนรัตนาธิเบศร์)

ที่มา : กรมธนารักษ์

อาคารที่ต้องขออนุญาต

แบบการขออนุญาตต่างๆ ท่านสามารถ download หรือ อ่านได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat ถ้าไม่มีสามารถ download โปรแกรมได้ที่นี่

การให้บริการของฝ่ายโยธา

แบบ ข.1คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร
แบบ ข.8 คำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
หนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน
บันทึกของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน (Word, PDF)
ใบรับรองวิศวกรผู้ควบคุมงาน
ใบรับรองสถาปนิกผู้ควบคุมงาน
หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน แบบ น.4
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ควบคุม แบบ น.5
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ได้รับใบอนุญาต แบบ น.6
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานพร้อมการส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ แบบ น.7
หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่(แนบกับ น.7) แบบ น.8
ใบแจ้งการขุดดิน ถมที่ แบบ ค.1
บันทึก ป.ค.14
การขออนุญาตเกี่ยวกับอาคาร

ลักษณะอาคารที่ต้องขออนุญาต
สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนเคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร
เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
เกี่ยวกับไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะการขอติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ
การขอให้ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ทางเท้า สะพาน ป้ายชื่อ
เกี่ยวกับการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าฯ
ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนจะต้องมีเอกสารประกอบ
เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
ดาวน์โหลดแบบคำขอ

สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สิน (Word, PDF)
คำร้องขออนุญาตโฆษณา (Word, PDF)
หนังสืออุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ (Word, PDF)
คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (PDF)
หนังสือมอบอำนาจการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
- หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาต (Word, PDF)
- หนังสือมอบอำนาจเจ้าของที่ดิน (Word, PDF)

ลักษณะอาคารที่ต้องขออนุญาต
1. สร้างอาคารขึ้นใหม่
2. ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วดังนี้
2.1 เปลี่ยนโครงสร้างของอาคารคอนกรีตและเสริมเหล็กคอนกรีตอัดแรง หรือเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นวัสดุอื่น โดยเปลี่ยนวัสดุ ขนาด จำนวน หรือชนิดของเดิม
2.2 เปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมน้ำหนักให้โครงสร้างของอาคารเกินร้อยละ 10
2.3 ลดหรือขยายเนื้อที่ของชั้นหนึ่งชั้นใดหรือหลังคาเกินกว่า 5 ตารางเมตร
2.4 เพิ่มหรือลดจำนวนเสา หรือคาน
3. ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
3.1 ระยะที่ตั้งของอาคารถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 20 หรือเปลี่ยนแปลงผังบริเวณ
3.2 สัดส่วนของโครงสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 5
4. รื้อถอนเคลื่อนย้ายอาคาร
5. ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่เข้าข่ายควบคุมการใช้
6. ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกรถ ตามมาตรา 8 (9) เพื่อการอื่น

สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนเคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร
การยื่นขออนุญาตดำเนินการเกี่ยวกับอาคารในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นขอได้ที่
2.1 ฝ่ายโยธาเขตท้องที่จะดำเนินการเกี่ยวกับอาคาร ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัย ตึกแถว หอพัก แฟลต อาคารชุด สำนักงาน ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ห้องแสดงสินค้า โกดังเก็บของที่ช่วง เสาช่องหนึ่งกว้างไม่เกิน 10 เมตร และอาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น และความสูงไม่เกิน 15.00 เมตร ห้องแถวที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารสัตว์เลี้ยง อาคารชั่วคราว สะพานไม้
2.2 กองควบคุมอาคาร สำนักโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) กรณีเป็นอาคารตึกสูงเกิน 4 ชั้น อาคารสาธารณะ อาคารพิษ หรืออาคารอื่นใด นอกจากอาคารตามชื่อ และการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร รวมทั้งขอใบรับรอง ฯลฯ

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
1. แบบคำขออนุญาต
1.1 ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ใช้แบบ ข.1
1.2 เคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.2
1.3 เปลี่ยนการใช้อาคาร ใช้แบบ ข.3
1.4 ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น ใช้แบบ ข.4
1.5 ต่ออายุใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.4 ใช้แบบ ข.5
1.6 แบบคำขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.6
1.7 แบบคำขอใบแทนอนุญาต หรือใบรับรอง ใช้แบบ ข.7
1.8 แบบคำขอใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.3 ใช้แบบ ข.8
อนึ่งเอกสารประกอบจะต้องจัดให้มีตามกำหนดในแบบคำขออนุญาตนั้นๆ
2. แผนผังแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ
2.1 ยื่นขออนุญาตตามข้อ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบอย่างละ 5 ชุด
2.2 ยื่นขอตามข้อ 1.5, 1.6, 1.7, 1.8 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบที่ได้อนุญาตจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ชุด
3. ในกรณีที่ผู้มาติดต่อดำเนินการในการยื่นขออนุญาตไม่ใช้เจ้าของอาคาร ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจจากเจ้าของอาคารตามฟอร์มของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท)

เกี่ยวกับไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ
การขอติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาโฉนดที่ดินหรือหลักฐานการยกให้และทางการได้รับไว้แล้ว
3. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปหากตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นที่สาธารณะทางเขตฯ จะต้องทำหนังสือถึง
การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบพิจารณาประมาณค่าใช้จ่ายแล้วจึงนำรายละเอียดและราคาจากการไฟฟ้าฯ มาตั้งงบประมาณรวมไว้ในปีต่อไป

การขอให้ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ทางเท้า สะพาน ป้ายชื่อ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปการขออนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาที่ไม่เป็นอาคารตามกฎหมายหลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 คำขออนุญาตตามแบบ แผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน เช่น ให้แจ้งใจความ หรือภาพโฆษณาโดยละเอียดชัดเจน จำนวน 2 ชุด
2.4 ใบยินยอมของเจ้าของที่ดิน กรณีที่ขอใบอนุญาตอยู่ในที่ดินของผู้อื่น
2.5 สำเนาโฉนดที่ดินทุกแผ่นลงนามรับรองโดยเจ้าของที่ดิน

เกี่ยวกับการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าฯ
เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ พ.ศ. 2531
1. คำร้องการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ (Word, PDF)
2. แผนที่สังเขปบริเวณสถานที่ขออนุญาตที่ชัดเจนสามารถหาพบได้ (แสดงรายละเอียด)
3. แผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จากกรุงเทพมหานคร
4. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร และแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร จากกรุงเทพมหานครหรือแผนผังการจัดสรรที่ดินได้รับอนุญาต หรือเป็นมติคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
6. กรณีที่ผู้ขออนุญาตกับเจ้าของที่ดินมิใช่บุคคลเดียวกันให้แนบหลักฐานการยินยอมด้วย
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
8. สำเนาทะเบียนบ้าน
9. สำเนาเอกสารทุกแผ่นจะต้องรับรองสำเนา

ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนจะต้องมีเอกสารประกอบ
1. หนังสือมอบอำนาจ (ต้องติดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มอบอำนาจ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ

ในกรณีเป็นนิติบุคคล
1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตรา และลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจบนเอกสารทุกฉบับ

เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
1. คำร้องการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
2. แผนที่สังเขปบริเวณที่ขออนุญาตปรับปรุง
3. แบบ รายละเอียดการปรับปรุงทางเท้า
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
หมายเหตุ แบบที่ประกอบการขออนุญาต ใช้อย่างละ 3 ชุด
ที่มา http://203.155.220.217/dusit/PreServices/Public_Works/#11

การขออนุญาตตั้งโรงงาน

สถานที่ติดต่อ
– โรงงานตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นต่อกระทรวงอุตสาหกรรม
– โรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น ยื่นต่อ อำเภอท้องที่ หรือจะยื่น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมประจำจังหวัด (ถ้ามี) หรือจะยื่นต่อกระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– แผนที่แสดงสถานที่ที่จะตั้งโรงงาน และบริเวณข้างเคียง
– แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน
– แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร
– แบบแปลนก่อสร้างเฉพาะในกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่
– แบบและรายละเอียดแสดงวิธีการและมาตรการป้องกันอันตรายหรือเหตุรำคาญโรงงานที่ประกอบกิจการอันอาจก่อให้เกิดอันตราย หรือเหตุรำคาญ
– แบบแปลน แผนผัง และคำอธิบาย โดยละเอียด แสดงวิธีการขจัดน้ำทิ้ง
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– หลักฐานการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
– เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น สำเนาบัตรส่งเสริมฯ
– ใบอนุญาตให้เช่าที่ดิน (กรณีเช่าที่ดินผู้อื่นสร้างโรงงาน)
ค่าธรรมเนียม
– ค่าคำขอ ฉบับละ ๕ บาท กรุงเทพมหานคร ทำคำขอ ๒ ฉบับ ต่างจังหวัด ทำคำขอ ๓ ฉบับ
– ค่าใบอนุญาตเสียตามจำนวนคนและ/หรือเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน (ระหว่าง ๑๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท)
– ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐ บาท
ที่มา http://www.scblu.com

กฎหมายมีความสำคัญต่อ ประชาชนในการดำเนินชีวิต

กฎหมายไทย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง ระเบียบ ประกาศ คำวินิจฉัย

คลิกลิงค์: http://www.kodmhai.com/

กฎหมายเกี่ยวกับอาคาร

การกำหนดแบบ และวิธีการ เกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย แบบและจำนวนห้องน้ำ และห้องส้วมกฎหมาย อาคาร และมาตรฐานงานอาคาร ประกอบด้วยกลุ่ม กฎหมายที่เกี่ยวกับเกณฑ์กำหนด ข้อห้าม วิธี หรือข้อปฎิบัติที่เกี่ยวแก่งานอาคาร

ความรู้ทั่วไปในการเจาะสำรวจชั้นดิน และ วิธีการเจาะสำรวจดิน

การสำรวจชั้นดิน คือกรรมวิธีการเจาะลงไปในชั้นดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ... การเจาะสำรวจชั้นดินคือการเจาะหลุมลงไปในดินเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินและเก็บตัวอย่างดินมาทำนการที่จะใช้ออกแบบ หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์
คลิกลิงค์:http://www.dpt.go.th/soil/

เขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร การใช้ประโยชน์ที่ดิน

1.กรณีดังกล่าว ถ้าเป็นเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนี้ เป็นไปตาม "กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 " กรณีนี้ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าสามารถก่อสร้างอาคารประเภทใด ได้บ้าง ได้จากเว็บไซต์ หรือ ที่กองควบคุมทางผังเมือง สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร หรือดำเนินการขอตรวจสอบด้วยการยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ซึ่งต้องมีเอกสารแนบดังนี้

1.1 หนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักผังเมือง แจ้งความประสงค์ขอตรวจสอบการใช้
1.2 ประโยชน์ที่ดิน ที่มีรายละเอียด (ระบุ) ชื่อกิจการที่ประสงค์ประกอบการ สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่......ถนน... แขวง... เขต... และแบบแปลนรูปด้านและผังบริเวณของอาคารที่ขอตรวจสอบ (ถ้ามี)
1.3 แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งบริเวนที่ขอตรวจสอบอย่างละเอียดและลงนามรับรองด้วยว่าแผนที่ดังกล่าวถูกต้องตรงตามความเป็นจริงทุกประการ
1.4 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นหนังสือคำร้องดังกล่าว และสำเนาหลักฐานนิติบุคคลในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
1.5 สำเนาโฉนดที่ดิน
1.6 สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการที่ออกให้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ดินแปลงนั้นมีการประกอบกิจการประเภทนั้นอยู่แล้ว
1.7 สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่ออกให้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ดินแปลงนั้นมีการก่อสร้างและใช้สอยอาคารอยู่แล้ว พร้อมทั้งแบบแปลนรูปด้านและผังบริเวณของอาคารที่เคยได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อน
1.8 สถานที่ติดต่อกลับหรือบุคคลที่จะติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี) หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
1.9 สำเนาเอกสารทุกฉบับรับรับรองสำเนาถูกต้อง

สถานที่ติดต่อ กองควบคุมทางผังเมืองสำนักผังเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานครเปิดบริการแก่ประชาชนโดยทั่วไปตามวัน เวลาราชการระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. โทร. 0 2354 1285-7 แฟกซ์ 0 2354 1285

2.หากเป็นพื้นที่ต่างจังหวัด ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
โทร 0-2201-8281 และ 0-2201-8286 โทรสาร 0-2643-1719 และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวงผังเมืองรวม การปลูกสร้างอาคารหรือประกอบกิจการ หรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน ต้องตรวจสอบก่อนดำเนินการว่าขัดต่อกฎหมายผังเมืองหรือไม่ ในการตรวจสอบต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

2.1 สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ นส.3
2.2 แผนที่ แผนผัง บริเวณที่จะดำเนินการ พร้อมทั้งจุดยึดโยงที่ชัดเจน
2.3 ระบุกิจการที่ต้องการดำเนินการ
2.4 ระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขอตรวจสอบ
ผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด คลิกลิงค์ :http://www.bma-cpd.go.th/lrup/cosmos/bcp_th.htm

ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่พื้นที่ต่างจังหวัด ตามกฎกระทรวงผังเมืองรวม

1.กรณีดังกล่าว ถ้าเป็นเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนี้ เป็นไปตาม "กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 " กรณีนี้ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าสามารถก่อสร้างอาคารประเภทใด ได้บ้าง ได้จากเว็บไซต์ หรือ ที่กองควบคุมทางผังเมือง สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร หรือดำเนินการขอตรวจสอบด้วยการยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ซึ่งต้องมีเอกสารแนบดังนี้

1.1 หนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักผังเมือง แจ้งความประสงค์ขอตรวจสอบการใช้
1.2 ประโยชน์ที่ดิน ที่มีรายละเอียด (ระบุ) ชื่อกิจการที่ประสงค์ประกอบการ สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่......ถนน... แขวง... เขต... และแบบแปลนรูปด้านและผังบริเวณของอาคารที่ขอตรวจสอบ (ถ้ามี)
1.3 แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งบริเวนที่ขอตรวจสอบอย่างละเอียดและลงนามรับรองด้วยว่าแผนที่ดังกล่าวถูกต้องตรงตามความเป็นจริงทุกประการ
1.4 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นหนังสือคำร้องดังกล่าว และสำเนาหลักฐานนิติบุคคลในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
1.5 สำเนาโฉนดที่ดิน
1.6 สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการที่ออกให้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ดินแปลงนั้นมีการประกอบกิจการประเภทนั้นอยู่แล้ว
1.7 สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่ออกให้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ดินแปลงนั้นมีการก่อสร้างและใช้สอยอาคารอยู่แล้ว พร้อมทั้งแบบแปลนรูปด้านและผังบริเวณของอาคารที่เคยได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อน
1.8 สถานที่ติดต่อกลับหรือบุคคลที่จะติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี) หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
1.9 สำเนาเอกสารทุกฉบับรับรับรองสำเนาถูกต้อง

สถานที่ติดต่อ กองควบคุมทางผังเมืองสำนักผังเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานครเปิดบริการแก่ประชาชนโดยทั่วไปตามวัน เวลาราชการระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. โทร. 0 2354 1285-7 แฟกซ์ 0 2354 1285

2.หากเป็นพื้นที่ต่างจังหวัด ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
โทร 0-2201-8281 และ 0-2201-8286 โทรสาร 0-2643-1719 และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวงผังเมืองรวม การปลูกสร้างอาคารหรือประกอบกิจการ หรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน ต้องตรวจสอบก่อนดำเนินการว่าขัดต่อกฎหมายผังเมืองหรือไม่ ในการตรวจสอบต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

2.1 สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ นส.3
2.2 แผนที่ แผนผัง บริเวณที่จะดำเนินการ พร้อมทั้งจุดยึดโยงที่ชัดเจน
2.3 ระบุกิจการที่ต้องการดำเนินการ
2.4 ระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขอตรวจสอบ
ผังเมืองจังหวัดทุกจังหวัด คลิกลิงค์ :http://www.dpt.go.th/lawmap/main_lawmap.html

กู้เงินซื้อบ้าน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การขอกู้เงินกับสถาบันการเงินเริ่มจากติดต่อกับฝ่ายสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อเคหะของธนาคาร เพื่อแสดงความจำนงขอกู้ พร้อมทั้งนำหลักฐานยื่นประกอบการขอกู้โดยครบถ้วน ซึ่งหากในวันยื่นกู้เอกสารหลักฐานยื่นประกอบการขอกู้โดยครบถ้วน ซึ่งหากในวันยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไม่ครบจะทำให้ผู้กู้ต้องนำเอกสารมาให้หรือมายื่นกู้ใหม่ในภายหลังและอาจทำให้การวิเคราะห์อนุมัติล่าช้าออกไป หลังจากยื่นกู้แล้วจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกัน

เมื่อยื่นกู้แล้ว ธนาคารหรือสถาบันการเงินจส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินราคาบ้านและที่ดินที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกันโดยทั้วไปใช้แวลาประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน
ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาคำขอกู้โดยจะทำการวิเคราะห์รายได้ ฐานะทางการเงิน ความสามารถในการผ่อนชำระ และหลักประกันของผู้กู้รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ และจะแจ้งผลการขอกู้ให้ผู้กู้ทราบ โดยปกติทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน
เมื่อได้รับอนุมัติกู้แล้ว ผู้กู้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อมาลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันไปทำนิติกรรมจำนองที่สำนักงานที่ดิน
ในวันโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองที่สำนักงานที่ดิน ผู้กู้ ผู้ขาย และเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดินที่หลักทรัพย์ดั้งอยู่ ทั้งนี้ผู้กู้จะต้องเตรียมเงินเป็นค่าจดทะเบียนจำนองตามปกติร้อยละ 1 ของวงเงินกู้และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิมธิ์ตามปกติร้อยละ 2 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ้งโดยทั่วไปผู้ขายมักจะเป็นผู้จ่ายเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
เมื่อทุกขั้นตอนเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะจ่ายเงินกู้ให้ผู้กู้เป็นแคชเชียร์เช็ค เพื่อให้ผู้กู้จ่ายเงินคงเหลือให้กับเจ้าของโครงการ หรือผู้ขาย ต่อไปเมื่อผู้กู้ได้รับเงินกู้แล้ว ผู้กู้ก็จะต้องมีภาระในการผ่อนชำระงวดทุกเดือนภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา

ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับการขอสินเขื่อ

1.ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอสินเชื่อ
2.ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน
3.ค่าธรรมเนียมจำนองของสำนักงานที่ดิน
4.ค่าประกันอัคคีภัย
5.ค่าอากรแสตมป
6.ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด

ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอน
มาตราการอสังหามีออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ รายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมโอน 2% เหลือ 0.01%
ค่าจดจำนอง 1% เหลือ 0.01%
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% เหลือ 0.1% คิดจากการถือครอง เกณฑ์ราคาประเมินของสินทรัพย์
มีผลตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.51 และสิ้นสุด 28 มี.ค.52 มาตรการนี้รวมบ้านมือสองด้วย และไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการ/บ้านที่ได้รับการอนุญาตจัดสรรถูกต้องเท่าน้น หากขายบ้านมือสองในโครงการที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร ก็ยังถือว่าเข้าข่าย ส่วนภาษีรายได้หัก ณที่จ่ายจากการขาย ก็คิดอัตราก้าวหน้า หากถือครอง 1 ปี ให้หักออก 97% มูลค่าในส่วนที่เหลือ คิดอัตรา 3% ค่ะ

เช่นบ้านราคา 1 ล้านบาท ถือครองมา 1 ปี แม้โอนไปเมื่อกลางปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันไม่ถึง 1 ปีก็ถือว่า 1 ปี บ้าน 1 ล้านบาท ถือครอง 1 ปี ได้ลด 97% เหลือ 30,000 คิดภาษีรายได้ 3% จาก 30,000บาท เท่ากับภาษีหัก ณ ที่จ่าย 900 บาท
ที่มา http://www.paul-esther.com

ขั้นตอนและวิธีการเลือกซื้อบ้าน

"บ้าน" เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีราคาแพงที่สุด และยังเป็นทรัพย์สินที่มีราคาแพงที่สุดในช่วงชีวิตของคนๆ หนึ่ง การซื้อบ้านหนึ่งหลังจึงอาจจะซื้อได้ครั้งเดียวในชีวิต ดังนั้นการเลือกและการตัดสินใจซื้อบ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้ที่ปรารถนาอยากจะมีบ้านเป็นคนตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละคนไม่ค่อยจะมีประสบการณ์หรือความรู้ในการเลือกซื้อบ้านมาก นัก ด้วยความที่เป็นทรัพย์สินที่หาซื้อกันไม่บ่อย ทำให้การเลือกและตัดสินใจซื้ออาจเกิดขึ้นตามแรงจูงใจและการโฆษณาของผู้ขาย เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้อยู่อาศัยและเกิดปัญหาขึ้น มากมายภายหลังการเข้าอยู่อาศัย
ดังนั้นก่อนที่จะคิดตัดสินใจซื้อบ้าน ควรจะพิจารณาหลักการในเบื้องต้นเพื่อให้บ้านที่จะซื้อเป็นที่อยู่อาศัยที่มี คุณค่าอย่างแท้จริงสำหรับผู้อยู่อาศัย โดยมีวิธีเลือกซื้อที่เป็นขั้นตอนอย่างกว้างๆ ทั้งการซื้อบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือห้องชุด ดังนี้


- การพิจารณาทำเลที่ตั้งโครงการ
หลังจากที่ผู้ซื้อประเมินกำลังเงินของตัวเองอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า รายได้ของครอบครัวเหมาะสมที่จะซื้อที่อยู่อาศัยในประเภทไหนที่จะกู้เงินกับ ธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ และสามารถผ่อนส่งได้โดยไม่เดือดร้อน สิ่งแรกที่ผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติ คือ การหาข้อมูลเบื้องต้นของบ้านที่ต้องการซื้อ โดยยึดเอาทำเลที่ตั้งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกที่สุด มาเป็นข้อพิจารณาอันดับแรก ได้แก่ การเดินทางไปสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของสมาชิกในครอบครัว ระบบโครงข่ายคมนาคมที่มีระบบขนส่งรองรับ ทำให้การเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจประจำวันสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้ จ่าย ซึ่งการเลือกทำเลที่ตั้งของบ้านจะพิจารณาจากความเหมาะสมกับความต้องการและ วิถีชีวิตของคนในครอบครัวเป็นหลัก


- เลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม
เมื่อผู้ซื้อได้ทำเลที่ต้องการแล้ว ในแต่ละทำเลจะมีโครงการที่ให้ผู้ซื้อเลือกอย่างมากมายทั้งโครงการขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก สิ่งที่จะต้องพิจารณาในขั้นตอนต่อไป คือ การพิจารณาเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม สำหรับโครงการที่ดีนั้นควรจะมีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบถ้วน เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายการจัดสรรที่ดินกำหนด หรือไม่ สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ หรือสปอร์ต คลับ มีตรงตามความต้องการของผู้ซื้อหรือไม่ ในบริเวณใกล้เคียงโครงการมีโรงเรียน โรงพยาบาล หรือศูนย์การค้าหรือไม่ รวมถึง สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโครงการ เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัวหรือไม่
นอกจากนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประกรหนึ่ง คือ บริษัทหรือเจ้าของโครงการมีความน่าเชื่อถือมีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการ ที่อยู่อาศัยมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากประวัติชื่อเสียงและผลงานในอดีต เพื่อเป็นเครื่องรับประกันในขั้นต้นว่า ผู้ซื้อจะได้บ้านที่มีมาตรฐานทั้งด้านความมั่นคงแข็งแรง และก่อสร้างบ้านให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันอย่างตรงเวลา ในกรณีนี้ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์และมีความเป็นมืออาชีพ จะได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีผลงานในการก่อสร้างเลย

สำหรับเรื่องราคาเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลียงไม่ได้ที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณา ให้ตรงกับกำลังซื้อที่มีอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การซื้อบ้านโดยคำนึ่งถึงราคาที่ถูกที่สุดไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้องเสมอไป เพราะโครงการที่มีราคาถูกอาจจะก่อสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำระยะการใช้งานน้อยทำให้ชำรุดทรุดโทรมได้ง่ายเสีย ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาในระยะยาวกว่าบ้านที่มีราคาสูง แต่ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน ดังนั้นการพิจารณาเรื่องราคาบ้านในโครงการประเภทเดียวกันขนาดเท่ากันจะคำนึง ถึงความคุ้มค่ามากกว่า โดยพิจารณาในแง่ของราคาที่ดิน ราคาค่าก่อสร้าง และคุณภาพของตัวบ้านเป็นประเด็นหลัก

การเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม ผู้ซื้อจะสามารถนำโครงการที่อยู่ในทำเลเดียวกันมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียใน จุดต่างๆ ได้ เพื่อคัดเลือกโครงการและบ้านที่มีราคาเหมาะสมคุ้มค่ากับการซื้อ การพิจารณาเปรียบเทียบจะทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ผู้ซื้อจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านในโครงการไหนราคาเท่าไหร่ โดยการเปรียบเทียบทั้งด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม ราคาซื้อขายต่อตารางเมตร คุณภาพวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ผู้ซื้อสมควรเปรียบเทียบข้อมูลจากการไปดูสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการจริง นำมาประมวลโดยการให้คะแนนในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการปรึกษากับสมาชิกในครอบครัว และสอบถามจากผู้ที่ซื้อบ้านอยู่ในโครงการนั้นๆ ผู้ซื้อจะได้บ้านในโครงการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด


-การเลือกตำแหน่งที่ดินและแบบบ้าน
เมื่อผู้ซื้อสามารถเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสมได้แล้ว สิ่งที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาในขั้นต่อไป คือ การเลือกตำแหน่งที่ดินและแบบบ้าน สำหรับเรื่องตำแหน่งที่ดินใน โครงการจะเลือกแปลงที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น อยู่ใกล้สวนสาธารณะ เพื่อต้องการสัมผัสความเป็นธรรมชาติและสะดวกในการออกกำลังกาย ต้องการอยู่ด้านในโครงการเพื่อต้องการความสงบเงียบ แต่อาจจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในทรัพย์สิน ในกรณีที่โครงการไม่สามารถจัดเวรยามได้เพียงพอ หรือต้องการอยู่ด้านหน้าโครงการเพื่อความสะดวกในการเดินทางหรือต้องการ ประกอบกิจการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก นอกจากนั้นผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงราคาบ้านที่เลือกในแต่ละแปลงซึ่งจะมีความ แตกต่างกันออกไปอีกด้วย


สำหรับแบบบ้านก็เช่นเดียวกัน การเลือกขึ้นอยู่กับความชอบและความต้องการของผู้ซื้อเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันแต่ละโครงการจะมีแบบบ้านให้ผู้ซื้อเลือกอย่างมากมาย ทั้งสไตล์ร่วมสมัย สไตล์โมเดิร์น หรือสไตล์ไทยประยุกต์ที่กำลังเป็นที่นิยม แต่ในขณะเดียวกันผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยภายในบ้านที่เหมาะสม กับความต้องการ และความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญ ประโยชน์ใช้สยที่เหมาะสม อาทิเช่น มีห้องต่างๆ ตรงกับความต้องการ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป สามารถติดต่อกันภายในระหว่างห้องได้สะดวกไม่ต้องขึ้นๆ ลงๆ ป้องกันแดด ฝนได้ดี มีการถ่ายเทอากาศดี ซึ่งรูปแบบบ้านจะต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ การนำแบบบ้านในต่างประเทศมาใช้จะต้องมีการปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ด้วยเช่นกัน


วิธีและขั้นตอนดังที่กล่าวข้างต้น ช่วยทำให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจเลือกซื้อบ้านได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความ เป็นอยู่และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง เพราะเลือกซื้อบ้านที่ไม่คุ้มค่ากับการอยู่อาศัย

แหล่งข้อมูล : www.ghbhomecenter.com

วิธีตรวจรับบ้านและคอนโด

วิธีตรวจรับบ้านและคอนโดครับ

อุปกรณ์ ที่ต้องใช้
ไฟฉาย
ถังน้ำ
โทรศัพท์ไร้สายไว้ตรวจปลั๊กไฟและสายโทรศัพท์
กระดาษไว้จดรายการซ่อมแซม
ดินสอ
เศษผ้า ไว้เช็ดน้ำซึม และเช็ดมือ ที่เปื้อน
เศษทิชชู่ยุ่ยๆ
กระดาษกาวไว้แปะจุดที่ต้องซ่อมแซม


อย่างที่ 1 ....... ระบบ สุขาภิบาล ครับ

- เปิดก๊อกน้ำ จนสุดทุกก๊อก........ ดูว่าน้ำไหลดีไหม การหมุนของวาวเป็นอย่างไร หมุนออก หมุนเข้า สองสามครั้ง หรือมากครั้งที่สุด
- ขังน้ำ ในบริเวณที่ขังได้ เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ อ่างครัว ที่ซักผ้า........ให้เต็ม ดูว่า ช่องน้ำล้นทำงานไหม? ....เสร็จแล้ว ปล่อยน้ำออกในทันที ....ถ้าอยู่ในห้องน้ำเดียวกัน ให้เปิดให้น้ำออกพร้อมกัน เพื่อดูว่า การแย่งกันไหลออกของน้ำ มีผลอย่างไร ล้นจากอ่างล้างหน้าไปที่อ่างอาบน้ำไหม? ถ้ามีอาการ ปุดๆ แสดงว่า ไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศตัน หรือท่ออากาศเล็กไป....... พร้อมกันนั้น ก็ชักโครกไปพร้อมๆ กันด้วยนะครับ ยิ่งดี ....แบบให้ระบบน้ำ แย่งกันใช้งาน ให้มากที่สุด
- เอาถังน้ำไปด้วย 1 ใบ รองน้ำให้เต็ม ค่อยๆ เทลงพื้นห้องน้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำ ดูว่า การระบายน้ำที่พื้น เป็นอย่างไร? ....ถ้าทำได้ ให้เอาผ้าอุดที่รูระบายน้ำพื้น ให้น้ำขัง แล้วค่อยปล่อยน้ำให้ไหล ทันที
- ระบบชักโครก ....กด และกด และกด มากที่สุดเท่าที่ทำได้ น้ำไหลคล่องหรือไม่? แล้วลองทิ้งทิชชู่ยุ่ยๆลงไปแล้วกดชักโครก1ครั้งว่าหมดไหม ถ้าขนาดน้ำยังไหลไม่คล่อง แล้วถ้ามีเนื้อ...ก็คิดเองเองครับ
- สายชำระ ....กดดูทุกอัน แรงๆ อย่าปราณีปราศรัย
- เอาเศษผ้าแห้ง เช็ดตามแนวรอยต่างๆ ที่ไม่ควรมีน้ำ ดูว่า มีน้ำซึมหรือเปล่า?
(ยิ่งเราสามารถเอาน้ำ มาไหลในห้องน้ำได้มากเท่าไร โอกาสที่จะเห็นความเสียหาย จากการเดินท่อไม่ดี ก็จะมากขึ้นครับ)


หมายเหตุผู้โพสต์: ข้างล่างนี่ คัดมาจากอีกกระทู้นึง เห็นว่าคล้ายๆ กันเลยเอามาแปะไว้ด้วยกันเลย

เรื่องน้ำ
อุปกรณ์ที่ต้องมี
1. กระป๋องน้ำ
2. ผ้าเช็ดเท้า
3. กล้องถ่ายรูป (เพื่อถ่ายเอาไว้เป็นหลักฐาน)


1. เริ่มจากน้ำ ให้ไปเปิด-ปิด ก๊อกน้ำทุกหัว (ย้ำว่าทุกหัว) ในบ้านแล้วลองปิดดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ มีรอยรั่วจากตรงไหนบ้าง หากปิดก๊อกน้ำทั้งบ้านแล้ว ให้เดินไปที่ มิเตอร์น้ำ ไปดูว่า มิเตอร์หมุนหรือไม่ หากมิเตอร์หมุนให้ทำการตรวจเช็คแสดงว่ามีท่อน้ำรั่วที่ไหนสักแห่งในบ้าน [ห้องที่มีก๊อกน้ำ ห้องน้ำทุกห้อง อ่างล้างหน้า สายชำระ ชักโครก ห้องครัว (ตาม sink ล้างจาน) สนามพื้นหน้าบ้าน (ก๊อกน้ำฉีดรดน้ำต้นไม้) ]

2. เอากระป๋องน้ำไปด้วย ใบใหญ่ๆ ที่ใส่น้ำได้สัก 5 ลิตรเป็นอย่างน้อย แล้วเติมน้ำใส่กระป๋อง เอาไปเททุกที่ที่มีทางระบายน้ำว่าน้ำระบายออกได้สะดวกหรือไม่ มีการขังหรืออุดตันตรงไหนหรือเปล่า (ห้องน้ำทุกห้อง ระเบียงห้อง หน้าบ้าน)

3. ปั้มน้ำ ให้ลองเปิดน้ำดูแล้วเดินไปที่ปั้มน้ำว่ามีเสียงการทำงานของปั้มหรือเปล่า น้ำแรงแค่ไหน

4. รายการของที่ต้องมีในห้องน้ำ
- อ่างล้างหน้า พร้อมก๊อกน้ำ
- ชักโครง และสายชำระ
- ที่ใส่กระดาษชำระ
- ที่แขวนผ้าเช็ดตัว
- ก๊อกน้ำและฝักบัว
- ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น ________________________________________
อย่างที่2…………..เรื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์ที่ต้องมี
ไขควงวัดไฟ
ไดร์เป่าผม (ตามความเห็นของผม:ผู้โพสต์กระทู้ ผมว่าใช้ไฟดวงเล็กๆ แบบที่เอาไว้เปิดตอนนอนก็น่าจะได้ เพราะใช้แค่ทดสอบว่าเราสามารถจะใช้งานปลั๊กนั้นได้หรือไม่เท่านั้น)
ไขควง 4 แฉก
รองเท้าแตะ หรือ รองเท้าที่เป็นพื้นยาง
ถุงมือหนาๆ เอาที่กะว่าใส่แล้วยังขยับนิ้วได้ตามปกติ
บันไดยาวๆ เอาแบบที่พาดได้ อย่างน้อยต้องมีบันไดไปด้วยสูงสัก 2.5 เมตรกำลังดีเอาไว้ปีนดูหลอดไฟ แล้วก็ขึ้นใต้หลังคา
ไฟฉาย
กล้องถ่ายรูป

หมายเหตุ - ขณะทำการเช็คไฟให้ใส่รองเท้าและถุงมือเพื่อความปลอดภัย

1. เรื่องการเช็คไฟฟ้า ไม่ยากเลย ทำเหมือนกับน้ำ คือ เดินเปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้าน เปิดทิ้งไว้ ตั้งแต่ทางเข้าบ้าน ....ปิดแล้วเปิดใหม่ทุกดวง อย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ต้องทิ้งระยะเวลาด้วยนิดหนึ่งนะครับ มีดวงไหนขาดไปหรือเปล่า ถ้าขาดให้เปลี่ยนให้ทันที หรือว่า จะย้ายดวงไฟตรงไหน ให้หรือจดเอาไว้แล้วเพิ่มในรายการตรวจรับบ้านได้

2. ปลั๊กไฟให้เอาไขควงวัดไฟจิ้มที่ น๊อต ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น๊อตหรือเปล่า พอเสร็จแล้วให้เอาไดร์เป่าผม เสียบแล้วลองใช้ดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างไม่มีไฟ

3. เดินไปดูที่ห้องน้ำมีการเดินสายไฟเอาไว้ให้สำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น การเดินสายไฟพวกนี้ก็เหมือนกันให้เดิน 3 เส้น (มีสายดิน) แล้วที่สำคัญ ต้องมี breaker ให้ด้วย

4. ให้ปีนขึ้นไปดูใต้หลังคา ก่อนจะปีนให้เอาปิด main breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปด้วยมีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อให้เราหรือเปล่า หากไม่มีให้ทำด้วย ไม่ใช่ร้อยสายไฟในท่อเฉพาะในกำแพงอย่างเดียว ใต้ฝ้าก็ต้องร้อยท่อให้เราด้วย เพราะหากหลังคารั่วน้ำมาโดนสายไฟจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านได้ และสายไฟ main ต้องไม่มีรอยทำการตัดต่อเป็นอันขาด หากมีการตัดต่อให้ทางโครงการเปลี่ยน เพราะอันตรายมาก มีโอกาสทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดเพลิงไหม้ได้สูง

5. ปิดไฟให้หมดทั้งบ้าน (ไม่ต้องปิด main breaker) แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามีไฟวิ่งอยู่หรือเปล่า หากมิเตอร์ยังวิ่งแสดงว่ามีไฟรั่วให้ทำการตรวจหาแล้วทำการแก้ไขเสียก่อน

6. หากทางโครงการแถมติดแอร์ให้ฟรี ให้ทำดังนี้ ให้เปิดแอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสามารถเปิดได้ เปิดให้หมดพร้อมกันทุกตัว สักประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเดินไปดูที่มิเตอร์ไฟว่า มันวิ่งแบบน่ากลัวหรือเปล่า หมุนติ้วๆ เป็นลูกข่างหรือเปล่า เพื่อทำการเช็คได้ว่ามิเตอร์จะทำการรับการใช้งานได้หรือเปล่า แอร์ต้องไม่ตัด อุปกรณ์ทุกอย่างต้องไม่ตัด

7. สายดินของ Main breaker ถามเค้าว่าฝังเอาไว้ตรงจุดไหน

8. ปลั๊กไฟนอกอาคาร ต้องเป็นปลั๊กไฟที่มีตัวปิดกันน้ำให้ด้วย เพราะเวลาฝนตกหรือฝนสาดจะได้ไม่เป็นอันตราย
ถ้ามีระบบตัดไฟ และระบบเช็คความต่างศักดิ์ ก็ขอใบรับประกันด้วย ...ที่เครื่องจะมีปุ่ม test ให้กดดูด้วย สอง หรือสามครั้ง ดูว่า ปุ่มหมุนอยู่ที่ 0 หรือเปล่า? ถ้าไม่ใช่ศูนย์ หมุนไปที่ศูนย์ ...ถ้าไฟดับ แสดงว่า มีไฟรั่วเล็กๆ แล้ว ถึงตอนนั้น ก็ต้องพยายามเปิดใช้ไฟฟ้าให้หมด ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
...................................................

อย่างที่3……..งานพื้น
อุปกรณ์ที่ต้องมี
1. ถุงเท้า
2. เหรียญบาท
3. ลูกแก้ว สักประมาณ 20-30 ลูก
4. กระดาษกาว
5. กล้องถ่ายรูป (ถ่ายเป็นหลักฐาน)

1. ให้เดินลากเท้าเปล่าก่อนดูว่ารอยกระเบื้อง แกรนิต หรือหินอ่อนหรือ แผ่นไม้ หรือไม้ปาร์เก้ที่ปูนั้นเรียบเสมอดีหรือไม่ หลังจากนั้นให้ใส่ถุงเท้าแล้วเดินลากไปตามพื้นเช่นเดิม จะได้รู้ว่ามีรอยอีกหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดหรือเปล่า

2. ให้ใช้เหรียญบาทเคาะดูพื้นว่ามีเสียงพื้นโปร่งหรือเปล่า หากมีให้นำกระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายเอาไว้ เคาะกระเบื้อง ถ้ามีเสียงก้องๆ เหมือนข้างในเป็นโพรง ก็ต้องรื้อน่ะค่ะ ถ้าแป้กๆ ตันๆทั้งแผ่นก็เก็บไว้ แสดงว่าใช้ได้ โดยเฉพาะตรงขอบๆกระเบื้องนี่ไม่ได้เลย เสียงก้องนิดเดียวก็ไม่ได้

3. ให้วางลูกแก้วไปบนพื้นหากเป็นไปได้ ควรวางห่างกันอย่างน้อย 10 เซนติเมตร แล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน หากไหลรวมกันแสดงว่า พื้นเป็นหลุม หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด ให้เอากระดาษกาวแปะเอาไว้ เหมือนเดิม
หมายเหตุ - การเคาะอย่ารุนแรงมากแล้วให้เคาะกระเบื้องทุกแผ่นที่ปูได้จะดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องหรือ ห้องน้ำรวมทั้งผนังห้องน้ำที่ปูกระเบื้องด้วย รวมถึงพื้นปาร์เก้ด้วย

ป.ล. พื้นลามิเนต อย่าไปเคาะมันนะ ไม่มีผล ……………………………………………..

หมายเหตุ ผู้โพสต์เอง : สำหรับพื้นลามิเนตเหมือนที่โครงการของเรานี่ เวลาเดินพื้นจะต้องไม่ยวบ เรียบเสมอกัน ไม่บวม โป่ง พอง ขอบบัวพื้นจะต้องแนบสนิทกับพื้น หากแตกต่างจากนี้ ควรให้ช่างแก้ไข หากไม่แก้ไขเมื่อใช้ไปสักระยะ อาการที่ว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วคิดดูว่าเวลาที่ช่างมารื้อพื้นตอนที่เราเข้าอยู่แล้วจะเป็นอย่างไร (คงย้ายตู้ ยกเตียงกัน วุ่นไปหมด แน่ๆ)




________________________________________
อย่างที่4……….งานกำแพง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ไม้บรรทัด
2. ไฟฉาย
3. กุญแจบ้านทั้งหลัง

1. ให้เดินดูกำแพงว่าสะอาดดีหรือไม่ wall paper ที่ติดเอาไว้เรียบเสมอกันดีหรือเปล่า ดูให้ละเอียดๆ นะ ให้เอาหน้าแนบดูกับกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า มีกำแพงบุบหรือโป่งหรือเปล่า

2. ตามขอบบัวติดผนังให้เอาไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเล่นเป็นเหมือนรถไฟ หากมีการโป่งหรือเว้าตัวของบัวคุณจะเห็นช่องได้ที่อยู่ระหว่างไม้บรรทัด กับขอบบัว

3. สีนอกอาคารดูให้ทั่วว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า มีรอยน้ำหรือเปล่าหากมีแสดงว่าน้ำรั่วให้หาสาเหตุโดยด่วน

4. ตามประตูและหน้าต่างให้ลองเปิดปิดดูทุกบาน ดูว่ามีการทรุดตัวของประตูหรือหน้าต่างหรือเปล่า ลองปิดแบบปล่อยให้ประตูปิดเองจะรู้ได้ทันที ให้ปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดหรือเปล่า ลอง lock แล้วเปิดดูด้วยกุญแจทุกดอกดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า

5. หากมีมุ้งลวดให้ตรวจดูว่ามีรอยขาดหรือเปล่า หากมีให้เปลี่ยนทันที

6. ประตูรั้วหน้าบ้าน ลง lock ดีหรือเปล่า สามารถใช้งานได้จริงหรือเปล่า ลองเปิดและปิดดู แล้วลองดูว่าใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า ลองปิดดู

________________________________________
อย่างที่5……….สายโทรศัพท์
อุปกรณ์ที่ต้องมี

1. โทรศัพท์บ้าน อย่างน้อย 2 เครื่อง เอาแบบใช้ถ่านนะ พร้อมสายต่อ
2. เพื่อน คนสนิท หรือ คนทางบ้าน อย่างน้อยอีก 1 คนเช่นกัน


หลายๆบ้านที่ทางโครงการมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ให้ในกำแพง ให้เอาโทรศัพท์ไปต่อดู แล้วยกหูฟังดูแล้วลองคุยกันดู ว่าได้ยินหรือไม่
หมายเหตุ - การเช็คแบบนี้ไม่ต้องรอให้มีเบอร์โทรศัพท์ก่อนก็ได้
________________________________________
ข้อเตือนใจ

1. อย่าเชื่อลมปาก ให้เขียนลงกระดาษและลงวันที่เอาไว้ด้วย
จดๆๆๆๆ
ข้อสำคัญ ต้องจดๆๆๆ เป็นรายการๆๆๆ ห้าม"จำ"ครับ เพราะจะลืม ...อย่าลืม เวลา, วันที่, แปลงที่ตั้งของบ้าน หรือชื่อเราเอง
เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่ง ถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมาชุดหนึ่ง ให้เค้า"เซ็นรับทราบ"ก็น่าจะดี
- ตอนมาตรวจครั้งที่สอง ก็ไล่ตามรายการ ...อ้อ! ให้ เค้า "นัดวันตรวจครั้งที่สองทันที" ในวันนั้นนะครับ
- น่าจะไปกันสองคน คนหนึ่งดู คนหนึ่งจด อย่าไว้ใจให้ผู้รับเหมาจด เพราะท่านมักจะลืมจด แบบตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ บ่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องที่แก้ไขยากๆ

2. ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐานทุกชิ้น
3. ให้ทำให้เสร็จก่อนโอน
4. อย่าเชื่อ โฟร์แมน ของโครงการโดยเด็ดขาด

หมายเหตุ - ข้อ 1 สำคัญที่สุด

การตรวจรับบ้าน(ใช้ได้ทั้งบ้านและคอนโดค่ะ)

การตรวจรับบ้านควรเตรียม สมุดโน้ต, ปากกา, ไขควงเช็คไฟ, ไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเหมือนรถไฟดูบัวหรือพื้นมีช่องเว้า โก่งงอ,ลูกปิงปองหรือลูกแก้ววางหลายๆลูกเพื่อตรวจสอบพื้นเรียบหากไหลรวมกันไปทางไหนพื้นเป็นหลุม หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นโก่งหรืออาจจะลองลากเท้าดูว่าเรียบหรือเปล่า, กล้องถ่ายรูป(ถ่ายแล้วพิมพ์ออกมาเวลาตรวจสอบเพิ่มเติม), ชอล์กสีทำเครื่องหมายจุดบกพร่อง,ไฟฉาย, สายยาง,ถังน้ำและเศษผ้าใช้ทดสอบการระบายในห้องน้ำโดยเอาผ้าอุดท่อระบายน้ำแล้วนำน้ำในถังน้ำเทแล้วเอาเศษผ้าออกเพื่อดูการระบายน้ำว่ามีท่วมขังหรือไม่,โทรศัพท์แบบใช้ถ่าย 2 เครื่องเพื่อทดสอบการโทร, โคมไฟเล็ก ทดสอบไฟ, เหรียญ 10บาท เคาะผนังปูนเพื่อทดสอบการกะเทาะของปูนตามรอยร้าว ในการแก้ไขต่าง ๆนั้นควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่งและถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมา "เซ็นรับทราบ"อีกชุดหนึ่งและให้ผู้รับเหมานัดวันตรวจครั้งที่สองในวันนั้นเลย ตอนมาตรวจการแก้ไขก็สามารถไล่ตรวจตามรายการดังกล่าวได้ทันที
1.ตรวจสอบหมายเลขเข็มหมุดเขตที่ดินทั้งสี่ทิศ
2.เช็คมิเตอร์ น้ำ, ไฟ ก่อนโอนและบันทึกหน่วยการใช้, ไม่มีค้างชำระ
3.จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง(ชื่อ,นามสกุล,ที่ติดต่อ)
4.นำชอล์กทำเครื่องหมายไว้ ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปไว้ด้วย
5.ตรวจสอบที่ดินตรงที่จะสร้างบ้านเป็นอะไรก่อนสร้าง, เป็นสระน้ำ,บ่อน้ำหรือเปล่า
6. สอบถามเรื่อง กำหนดการ เก็บขยะ วันเวลา โดยประมาณ รวมถึง ช่วงเวลาที่"เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า และประปา" มาเก็บเงิน
7.ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน (ใบรับประกันการมุงหลังคา,ใบรับประกันฉีดกันปลวก, ใบรับประกันแอร์, ใบรับประกันระบบตัดไฟ, ปั้มน้ำ,เครื่องดูดควัน)
8.ขอแบบบ้านพิมพ์เขียว (บางโครงการอาจให้), ระบบประปา, สุขาภิบาล, ผังไฟฟ้า,ผังฐานราก, คานคอดิน, แบบขยายฐานราก ควรขอเป็นแบบที่มีการแก้ไขในขณะก่อสร้าง(as-build drawing) ด้วยจะดีที่สุดเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขซ่อมแซมหรือต่อเติมในอนาคต
9.ควรขอรายละเอียดของ Spec เบอร์"สี"ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จะได้ไม่เพี้ยนกันมาก( แต่ทั่วไป เวลานานๆไป สีจะจืดต่อให้ใช้เบอร์เดิม ก็เพี้ยนได้ครับ)ภายในบ้านควรมีกระเบื้องปูพื้นที่ใช้ในบ้าน สำรองเอา ไว้เผื่องานซ่อมเพราะหากไปซื้อทีหลังจะ หารุ่นเดิม สีเดิมไม่ได้แน่นอน
10.ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา
11.ให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้นมากเป็นพิเศษอาจเป็นเพราะว่าตามจุดเหล่านั้น มีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย
การบำรุงรักษาบ้าน
-ใน 3 – 4 เดือนแรก ถ้าหากบ้านใช้เครื่องปรับอากาศไม่ควรให้อุณหภูมิภายในและภายนอก แตกต่างกันเกินกว่า 10 องศาซึ่งจะช่วยป้องกันบ้านของท่านมิให้เกิดรอยแตกร้าว
-หากมีรอยแตกร้าวควรทิ้งไว้ประมาณ 6 – 9 เดือน เพื่อให้วัสดุต่างๆ อยู่ตัวหลังจากนั้นจึงค่อยตกแต่งแก้ผนังส่วนนั้นๆ
-หากพบจุดบกพร่องที่แก้ไขได้ยาก ทำการต่อรองเพื่อขอค่าชดเชย

ข้อควรทราบ
1.อย่าเชื่อลมปาก ให้เขียนลงกระดาษและลงวันที่เอาไว้ด้วย
2. ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐานทุกรูป (ถ่ายแล้วพิมพ์ออกมาเวลาตรวจสอบเพิ่มเติม)ผมขอแนะนำให้ถ่ายบ้านตัวอย่างทั่วๆบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ด้วยจะได้เปรียบเทียบกับบ้านเราได้ถ้าไม่เหมือนกันจะได้ขอคำตอบจากโครงการว่าทำไมไม่เหมือนกัน หรือให้แก้ไขให้ถูกต้อง
3. ให้ทำให้เสร็จก่อนโอน
4.อย่าเชื่อ โฟร์แมน ของโครงการโดยเด็ดขาด
5. กรณีที่เป็นโครงสร้างของอาคาร ได้แก่ เสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้นโครงหลังคา และผนังที่รับน้ำหนัก เป็นต้นภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
6.กรณีที่เป็นส่วนควบหรืออุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารนอกจากโครงสร้าง ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ รั้วและกำแพงภายในระยะเลาหนึ่งปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์

1.ระบบโครงสร้าง
ตรวจเช็คความลาดเอียง รอยร้าวต่างๆ โดยเฉพาะในบริเวณ พื้น คาน เสาซึ่งถือว่าเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญที่สุดของบ้าน

2.สภาพภายนอกตัวบ้าน
ตรวจดิ่ง ฉาก ของท่อระบายน้ำ ท่อประปา สภาพของทางระบายน้ำ ถังบำบัด
ท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำดี ท่อต่างๆ เหล่านี้มีระยะความลาดเอียงเป็นอย่างไร ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำเรียบร้อยสวยงามหรือไม่ ผนังบ้านด้านนอกมีจุดที่แหว่งหรือมีสีเลอะเทอะ งานปูนในส่วนที่เป็นซอกมุมเรียบร้อยหรือไม่ งานทรายล้างที่ลานจอดรถและลานซักล้าง หลังบ้านต้องไม่มีน้ำขังเป็นหลุม บ่อลองเทน้ำราดทดสอบดู

3.งานใต้หลังคา
อุปกรณ์ที่จะต้องมีไขควงวัดไฟ, รองเท้าพื้นยาง กันไฟดูด,ถุงมือหนา กันไฟดูด, บันไดยาวๆ ขึ้นใต้หลังคา, ไฟฉาย, กล้องถ่ายรูปตรวจงานอันนี้เป็นหน้าฝนได้จะดีมากๆหากไม่ใช่หน้าฝน จะตรวจเช็คได้ลำบาก เพราะท่านต้องหาสายน้ำพร้อมกับเครื่องปั้มน้ำแรงดันสูง มาประจำตัวด้วยตรวจสอบโครงหลังคาได้ฉากได้ระดับหรือไม่ ระยะห่างของแปเป็นอย่างไร การติดตั้งและการยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาถูกต้องเท่ากันหรือไม่ มีการซ้อนทับของกระเบื้องถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งหรือไม่ ความลาดเอียง ครอบสันเป็นอย่างไร มีแผ่นกระเบื้องบางแผ่นแตกหรือมีการรั่วซึมหรือไม่ ไม้ระแนงและไม้เชิงชาย มีการไสแต่งผิวเรียบเนียน มีขนาดสม่ำเสมอกันหรือไม่ มีการทาน้ำยากันปลวกและรักษาเนื้อไม้หรือไม่ และการนำสายยางมาฉีดน้ำให้ทั่วทั้งหลังคาบ้าน และตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่, หลังคาชั้น 1 ลองใช้สายยางฉีดน้ำดูว่ารั่วหรือไม่

1.เริ่มด้วยการปีนขึ้นไป ให้ปิด main breaker ก่อนด้วยนะครับ แล้วก็อย่าลืมถุงมือและรองเท้าพื้นยาง ตอนที่ขึ้นไปใต้หลังคาให้ระวัง อย่าไปเหยียบที่โครงฝ้านะครับ ให้เหยียบที่ โครงเหล็กของหลังคาเท่านั้น (โดยเด็ดขาด) เพราะหากไม่เช่นนั้นแล้วร่างท่านอาจจะลงไปกองอยู่ที่พื้นด้านล่างได้ หลังจากนั้นให้ใช้ไฟฉายส่องไปให้ทั่วๆ ดูว่า มีแสงลอดมาจากด้านนอกไหม (ตามกระเบื้องหลังคา) หากมีเนี่ยให้ทางโครงการรีบมาอุดซะ เพราะ มีโอกาสสูงมากๆ ที่น้ำอาจจะเข้ามาทางนั้นได้เวลาฝนตกหนักๆ
2.หากใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อนแล้ว (ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแผ่นฟรอยบางๆ)หากมีรอยฉีกขาดให้ทางโครงการมาปะให้ด้วยนะครับ
3.แล้วก็ลองสังเกตดูสายไฟด้วยนะครับ ต้องร้อยอยู่ใต้โครงเหล็กหลังคานะครับไม่ใช่ร้อยอยู่เหนือโครงเหล็ก เพราะหากมีไฟช๊อตขึ้นมา ก่อนที่ท่านจะปีนขึ้นไปได้ ไฟอาจจะช๊อตท่านตกลงมาซะก่อนล่ะครับ

4.ระบบน้ำ (กระป๋องน้ำ, เศษผ้าอุดท่อน้ำ, กล้องถ่ายรูป)
1.ให้ความสำคัญกับห้องน้ำและบันไดเป็นพิเศษ เนื่องจากทั้งสองส่วนดังกล่าวหากมีอะไรผิดพลาดน่าจะยุ่งยากแก่เจ้าของบ้านในการแก้ไขภายหลัง ก็เลยตรวจให้อย่างถ้วนถี่สักหน่อย
2.เช็คระบบช่องน้ำล้น โดยขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างครัว ที่ซักผ้า โดยขังน้ำให้เต็มดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ แล้วปล่อยน้ำไหลออกดูว่าสะดวกหรือไม่ ถ้ามีอาการปุดๆ แสดงว่าไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศเล็กไป ทดลองใช้พร้อมกัน ดูการแย่งน้ำ กดสายชำระดูว่าใช้ดีหรือไม่
3. ใส่ใจเรื่องความลาดเอียงของพื้นในส่วนเปียกที่จำเป็นต้องมีการไหลระบายถ่ายเทของน้ำต้องมีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำ อย่างห้องน้ำ, กันสาด, ลานจอดรถหรือลานซักล้าง เตรียมถังน้ำมาใบหนึ่ง ใส่น้ำมาเทราดไปเรื่อยตามส่วนต่างๆดังกล่าว ดูว่ามีที่ท่วมที่ขังอย่างไรบ้าง ตรงไหนท่วม ตรงไหนขัง
4.ปั้มน้ำ ให้ลองเปิดน้ำดูแล้วเดินไปที่ปั้มน้ำว่ามีเสียงการทำงานของปั้มน้ำหรือเปล่าน้ำแรงแค่ไหน
5.เปิด-ปิด ก๊อกน้ำทุกหัวในบ้านแล้วลองปิดดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ มีรอยรั่วจากตรงไหนบ้าง หากปิดก๊อกน้ำทั้งบ้านแล้ว ให้เดินไปที่ มิเตอร์น้ำ ไปดูว่า มิเตอร์หมุนหรือไม่ หากมิเตอร์หมุนให้ทำการตรวจเช็คแสดงว่ามีท่อน้ำรั่วที่ไหน สักแห่งในบ้าน (ห้องที่มีก๊อกน้ำ ห้องน้ำทุกห้อง อ่างล้างหน้า สายชำระ ชักโครก ห้องครัว (ตามsink ล้างจาน) สนามพื้นหน้าบ้าน (ก๊อกน้ำฉีดรดน้ำต้นไม้)
6.รายการของที่ต้องมีในห้องน้ำ (อ่างล้างหน้าพร้อมก๊อกน้ำ, ชักโครกและสายชำระ,ที่ใส่กระดาษชำระ, ที่แขวนผ้าเช็ดตัว, ก็อกน้ำและฝักบัว,ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น)

5.ระบบไฟฟ้า
อุปกรณ์มี ไขควงวัดไฟ, โคมไฟเล็กหรือไดร์เป่าผม(Test ไฟฟ้า), ไขควง4 แฉก, รองเท้าแตะหรือ รองเท้าพื้นยาง กันไฟดูด, ถุงมือหนา กันไฟดูด, บันไดยาวๆปีนดูหลอดไฟและขึ้นใต้หลังคา, ไฟฉาย, ล้องถ่ายรูป การตรวจสอบระบบไฟฟ้าครอบคลุมตั้งแต่ มิเตอร์ ปลั๊กไฟ สวิทช์ ดวงโคม รวมสายล่อฟ้า สายโทรศัพท์และทีวี ควรทดสอบไฟทุก ๆ จุด ด้วยการเอาหลอดไฟเล็กๆหรือโคมไฟไปเสียบและทดลองเปิดดู หากเปิดไฟแล้วปรากฏว่ามีเสียงดัง คราง ๆก็ลองให้ช่างตรวจสอบดูนะครับ สาเหตุที่พบบ่อยคืออาจเกิดจากการสั่นของอุปกรณ์บางตัวที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก ขั้นต่อมาให้ทดลองเปิดไฟทุกดวง ทิ้งไว้ ตั้งแต่ทางเข้าบ้าน ปิดแล้วเปิดใหม่ทุกดวง อย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยทิ้งระยะเวลาด้วยนิดหนึ่ง ส่วนการทดสอบปลั๊กไฟนั้น ควรเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบปลั้กไปด้วย เช่น โคมไฟเล็กๆ หรือพัดลมเล็ก ทำการทดสอบเสียบที่เต้าเสียบ ทุกอันในบ้านว่าทำงานหรือไม่ ในส่วนของการเดินสายไฟนั้น ให้ดูว่าเดินเป็นแนวเข้ามุมเรียบร้อยดีหรือไม่อย่างไร การติดตั้งปลั๊กหรือสวิททุกตัวถูกต้อง ได้มาตรฐาน และใช้งานสะดวก และถ้ามีระบบตัดไฟ และระบบเช็คความต่างศักดิ์ ก็ควรจะขอใบรับประกันเอาไว้ด้วย และที่เครื่องดังกล่าวจะมีปุ่มทดสอบ ให้ลองกดทดสอบดู สอง หรือสามครั้ง ดูว่า ปุ่มหมุนอยู่ที่ ศูนย์ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ศูนย์ ให้หมุนไปที่ศูนย์ ถ้าไฟดับแสดงว่า มีไฟรั่วเล็กๆ แล้วมีการเขียนรายละเอียดการใช้งานกำกับไว้ที่สวิตซ์ทั้งหมด
1.เปิดไฟฟ้าทั่วทุกดวง
2.เปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้าน มีดวงไหนขาดไปหรือเปล่า
3.เอาไขควงจิ้มที่น็อต ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น็อตหรือเปล่า ให้ใช้ไขควง 4แฉกเปิดปลั๊กไฟทุกจุดหรือ random ดูว่ามีการเดินไฟเอาไว้กี่เส้นต้องมีสายดินต่อเอาไว้ พอเปิดออกมาแล้วจะเห็นสายไฟต้องมี 3 เส้นพอเสร็จแล้วให้เอาไดร์เป่าผมหรือโคมไฟเสียบแล้วลองใช้ดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างไม่มีไฟ
4.ห้องน้ำมีการเดินสายไฟเอาไว้ให้สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือยังหากห้องไหนมีอ่างอาบน้ำแล้วคุณจำเป็นต้องใช้เครื่องทำน้ำร้อนก็ต้องให้เดินสายไฟให้ก่อนที่จะทำการตรวจรับมอบบ้านหรือเป็นไปได้ให้เขียนอยู่ในสัญญาก็ได้ว่าให้เดินสายไฟให้ฟรี การเดินสายไฟพวกนี้ก็เหมือนกันให้เดิน 3 เส้น (มีสายดิน) แล้วที่สำคัญ ต้องมีbreaker ให้ด้วย อยู่หน้าห้องน้ำก็ได้ หากโครงการบอกว่า ตู้ไฟเดี๋ยวนี้เค้าแยกจุดให้แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้เค้าทำให้เราให้ได้ เพราะหากไฟดูดตายขึ้นมาคนพูดเค้าไม่ได้มาตายกับเราด้วย
5.ให้ปีนไปดูใต้หลังคา ก่อนจะปีนให้ปิด main breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปด้วย มีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อให้เราหรือเปล่า หากไม่มีให้ทำด้วย ไม่ใช่ร้อยสายไฟในท่อเฉพาะในกำแพงอย่างเดียว ใต้ฝ้าก็ต้องร้อยท่อให้เราด้วย เพราะหากหลังคารั่วน้ำมาโดนสายไฟจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านได้ สายไฟ MAIN อย่างน้อยต้องเป็น 16 square/mm หากสูงกว่านี้ได้ยิ่งดี และสายไฟ main ต้องมีไม่รอยทำการตัดต่อเป็นอันขาด หากมีการตัดต่อให้ทางโครงการเปลี่ยนให้ได้ เพราะอันตรายมาก มีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดเพลิงไหม้ได้สูง
6. ปิดไฟให้หมดทั้งบ้าน (ไม่ต้องปิด main breaker)แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามีไฟวิ่งอยู่หรือเปล่าหากมิเตอร์ยังวิ่งแสดงว่ามีไฟรั่วให้ทำการตรวจหาแล้วทำการแก้ไขเสียก่อน
7. หากทางโครงการแถมติดแอร์ให้ฟรี ให้ทำดังนี้ ให้เปิดแอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสามารถเปิดได้
เปิดให้หมดพร้อมกันทุกตัว สักประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเดินไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามันวิ่งแบบน่ากลัวหรือเปล่า หมุนติ้วๆ เป็นลูกข่างหรือเปล่าเพื่อทำการเช็คได้ว่ามิเตอร์จะทำการรับการใช้งานได้หรือเปล่า แอร์ต้องไม่ตัดอุปกรณ์
ทุกอย่างต้องไม่ตัด
8. สายดินของ main breaker ถามว่าฝังเอาไว้ตรงจุดไหน ส่วนใหญ่ 80-90%จะฝั่งให้แต่ไม่ลึก ตามมาตรฐานแล้วต้องฝั่งให้ลึกอย่างน้อย 2 เมตรส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นเค้าจะบอกว่าเทปูนทับไปแล้วหากเป็นไปได้ลองเช็คเรื่องนี้ดู ว่าเค้าฝังลงไปลึกเท่าไหร่ หรือไม่ก็ให้ฝังให้ใหม่ อันนี้ยอมเสียเงินเองก็ได้ เรื่องสำคัญมากเรื่องสายดินเป็นท่อทองแดงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ นิ้วก้อยผู้ชายตัวโตๆ เห็นจะได้แล้วใช้ค้อนปอนด์ตอกลงดินให้ลึกถึงชั้นดิน อย่างน้อยต้องมี 2 เมตร
9. หลอดไฟ (down light) ให้ต่อรองหรือขอชดเชยในส่วนที่บกพร่อง ให้ใส่เป็นหลอดประหยัดไฟ หากได้จะดีมาก เพราะหลอดพวกนี้ราคาค่อนข้างสูง 1 หลอด ประมาณ 100กว่าบาท แล้วแต่ยี่ห้อและขนาดของหลอดไฟด้วย หากมีหลอดไฟสัก 30 หลอดก็ต้องเสียเงินไปประมาณ เกือบๆ 4 พันแล้ว
10. ปลั๊กไฟนอกอาคาร ต้องเป็นปลั๊กไฟที่มีตัวปิดกันน้ำให้ด้วยเพราะเวลาฝนตกหรือฝนสาดจะได้ไม่เป็นอันตราย
11. กระดิ่งไฟหน้าบ้าน ให้ไขออกมาดูว่าเดินไฟ 3 เส้นหรือเปล่าเป็นรุ่นที่มียางกันน้ำหรือไม่ หรือมีกล่องครอบกันน้ำหรือเปล่า สำคัญมากๆ เพราะหากกระดิ่งไฟหน้าบ้าน เกิดชื้นขึ้นมา จะทำให้ ท่านที่ติด กล่อง safe-t-cut
หรือกล่องยี่ห้ออื่นก็ได้ ไฟจะตัดตลอดหากกระดิ่งชื้น จริงๆแล้วไม่ต้องติดก็ได้ครับ safe-t-cutเปลืองเงินโดยใช่เหตุหากท่านไปมีใช้อยู่แล้วเกิดปัญหาว่า safe-t-cut ตัดบ่อย 90กว่า % มาจากสาเหตุนี้ทั้งนั้นเลย
12. ไฟนอกอาคาร หรือ ไฟรอบๆ บ้านควรมีเอาไว้รอบบ้าน ดีกว่านะครับแล้วท่านที่ต้องการเปิดไปหน้าบ้านให้ไปซื้อสวิทช์เปิดไฟอัตโนมัติมาให้ช่างโครงการติดก็ได้ครับ ไม่ยากแล้ว อย่าลืม เขียนเป็นลายลักษณะอักษร
13. มีระบบตัดไฟเมนเบรกเกอร์พร้อมแบ่งชั้นบนชั้นล่างมีการต่อสายดินไว้จริงโดยดูจุดลงสายดินให้เรียบร้อยหรือควรหาไขควงวัดไฟจี้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินตรงน็อตสักตัวเพื่อหาไฟรั่ว ทดสอบโดยการปิดไฟทั้งหลังแล้วนั่งดูมิเตอร์

6.งานพื้น
อุปกรณ์ที่ต้องมี ถุงเท้า, เหรียญบาท, ลูกแก้ว สักประมาณ 20-30 ลูก หรือลองเดินลากเท้าดูว่ามีสะดุด ตรงไหนหรือเปล่า, กระดาษกาว, กล้องถ่ายรูป
พื้นไม้ปาเก้ร์
การติดตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาช่างนั้นต้องรอให้พื้นที่จะปูแห้งสนิทและทาน้ำยากันซึมไว้ด้วยบริเวณรอยต่อพื้นไม้แต่ละชิ้นต้องต่อกันสนิทแต่ไม่ควรจะแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดการโก่งงอจากการขยายตัวของไม้ได้ง่าย,
1.ให้เดินลากเท้าเปล่าก่อนดูว่ารอยกระเบื้อง แกรนิต หรือหินอ่อนหรือ แผ่นไม้หรือไม้ปาร์เก้ที่ปูนั้นเรียบเสมอดีหรือไม่ หลังจากนั้นให้ใส่ถุงเท้าแล้วเดินลากไปตามพื้นเช่นเดิมจะได้รู้ว่ามีรอยอีกหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดหรือเปล่า
3.ให้ใช้เหรียญ 10 บาทเคาะพื้นว่ามีเสียงพื้นโปร่งหรือเปล่าหากมีให้นำกระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายเอาไว้หรือใช้ชอล์กกากบาทไว้ แล้วถ่ายรูปเก็บเป็นหลักฐานไว้
4.ให้วางลูกแก้วไปบนพื้นหากเป็นไปได้ ควรวางห่างกันอย่างน้อย 10 เซนติเมตรแล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน หากไหลรวมกันแสดงว่า พื้นเป็นหลุมหากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด ให้เอากระดาษกาวแปะเอาไว้ เหมือนเดิม,ดูยารอยแนวให้เรียบร้อย
5.ดูความเรียบร้อยของพื้นโดยให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดังพื้นมากพิเศษ
6.พื้นบริเวณด้านนอกตัวบ้าน ควรอยู่สูงกว่าระดับของถนนด้านหน้าบ้านต้องราบเรียบสม่ำเสมอ
หมายเหตุ - การเคาะอย่ารุนแรงมากแล้วให้เคาะกระเบื้องทุกแผ่นที่ปูได้จะดีมากๆไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องหรือ ห้องน้ำรวมทั้งผนังห้องน้ำที่ปูกระเบื้องด้วยรวมถึงพื้นปาร์เก้ด้วย

7.งานกำแพง ผนัง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ไม้บรรทัด, ไฟฉาย, กุญแจบ้านทั้งหลัง ผนังที่ก่อขึ้นมานั้น มีความถูกต้อง ได้ระยะได้ดิ่งหรือไม่อย่างไร บริเวณรอยต่อ รอยชนของผนัง ตลอดจนพื้นผิวผนังที่ฉาบเสร็จแล้วนั้นเรียบเสมอกัน สีที่ทามีความเรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีการหลุดร่อนของเนื้อสีหรือมีรอยด่างให้เห็นครับ การติดตั้งบัวเชิงผนัง
บัวเชิงเพดาน ติดตั้งได้เรียบร้อยแนบสนิทหรือไม่ ตรวจสอบดูว่าผนังด้านต่าง ๆ นั้นมีรอยร้าวให้เห็นหรือไม่ แต่ไม่ต้องกังวลกับรอยร้าวเล็ก ๆ บนผนัง ที่มีสาเหตุมาจากปูนฉาบที่แห้งตัวไม่เท่ากัน เพราะรอยร้าวชนิดนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการโป๊วปิดรอยดังกล่าวและทาสีทับได้ครับ และใช้เหรียญ 10 บาท เคาะตามผนังปูนถ้าเสียงก้อง แสดงว่าปูนร่อนต้องให้สกัดแล้วฉาบใหม่ ตรงไหนมีปัญหาใช้ชอลก์ทำเครื่องหมายไว้ แล้วถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน
1.ให้เดินดูกำแพงว่าสะอาดดีหรือไม่ wall paper ที่ติดเอาไว้เรียบเสมอกันดีหรือเปล่า ดูให้ละเอียดๆ นะ
ให้เอาหน้าแนบดูกับกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า มีกำแพงบุบหรือโป่งหรือเปล่า
2.ตามขอบบัวติดผนังให้เอาไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเล่นเป็นเหมือนรถไฟ หากมีการโป่งหรือเว้าตัวของบัวคุณจะเห็นช่องว่างที่อยู่ระหว่างไม้บรรทัด กับขอบบัว
3.สีนอกอาคารดูให้ทั่วว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า มีรอยน้ำหรือเปล่าหากมีแสดงว่าน้ำรั่วให้หาสาเหตุโดยด่วน
4.ตามประตูและหน้าต่างให้ลองเปิดปิดดูทุกบาน ดูว่ามีการทรุดตัวของประตูหรือหน้าต่างหรือเปล่า ลองปิดแบบปล่อยให้ประตูปิดเองจะรู้ได้ทันที ให้ปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดหรือเปล่า ลอง lock แล้วเปิดดูด้วยกุญแจทุกดอกดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า
5.หากมีมุ้งลวดให้ตรวจดูว่ามีรอยขาดหรือเปล่า หากมีให้เปลี่ยนทันที
6.ประตูรั้วหน้าบ้าน ลง lock ดีหรือเปล่า สามารถใช้งานได้จริงหรือเปล่า ลองเปิดและปิดดู แล้วลองดูว่าใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า ลองปิดดู
7.ตรวจสอบรอยร้าวกำแพงรั้วบ้านและความเรียบร้อย

8.ระบบฝ้าเพดาน
ตรวจสอบระบบฝ้าเพดานจะคล้ายกับการตรวจ พื้น และผนัง ครับ คือตรวจสอบดูความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไป ระดับการติดตั้ง การเข้ามุม ความเรียบร้อยบริเวณรอยต่อต่าง ๆ และหากมีร่องรอยหยดน้ำอยู่ที่ฝ้าเพดาน ต้องรีบตรวจสอบหาสาเหตุของรอยดังกล่าวอย่างละเอียดครับ เมื่อตรวจสอบสภาพภายนอกของฝ้าเพดานแล้ว เอาบันไดมาปีนดูช่องเปิดของฝ้าเพื่อตรวจสอบ ปูนโป๊ว ระยะโครงเคร่าต่าง ๆ ว่ามีความเรียบร้อยสม่ำเสมอหรือไม่ครับ ดูว่ามีฉนวนกันความร้อน, มีเศษไม้หลงเหลือเป็นอาหารปลวกหรือเปล่า

9.ระบบช่องเปิด-ปิด กลอน ประตู หน้าต่าง กุญแจ
หลักการใหญ่ ๆ ในการตรวจสอบประตูหน้าต่างและช่องเปิดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มือจับ กุญแจ บานพับ กลอนประตู หน้าต่าง ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้แนวได้ระดับถูกต้อง สวยงาม ตรวจสอบดูกลอนประตูว่าหลวมหรือแน่นไปหรือไม่ ประตู หน้าต่างดังกล่าวเปิดปิดเป็นอย่างไร ปิดไม่สนิท หรือปิดลำบาก หรือไม่ การยาแนวระหว่างกระจกกับบานประตูเรียบร้อยทั่วถึงหรือไม่ ทดลองใส่กลอนทุกตัวว่าใส่ได้จริงๆ และเรียบร้อยหรือไม่ กุญแจ ต่าง ๆ เปิดปิดได้จริงๆ หรือไม่, เปิด-ปิดประตูรั้ว ประตู หน้าต่างทุกบาน อุปกรณ์ทั้งหลาย, มี door stop ยางกันกระแทกหรือเปล่า

10.ระบบสุขาภิบาล
ในการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลนั้น ควรทดลองใช้งานสุขภัณฑ์ทุกตัว เปิดก๊อกน้ำ จนสุดทุกก๊อก ดูว่าน้ำไหลดีไหม การหมุนของวาวเป็นอย่างไร ทดลองหมุนเข้า หมุนออก สองสามครั้ง หรือมากครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้
และตรวจเช็คข้อต่อว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่ โดยมีวิธีการเช็ครอยรั่วซึมในจุดที่มองไม่เห็นได้ด้วยการปิดการใช้น้ำทุกตัว ถ้าวาล์วน้ำยังหมุนหรือปั๊มน้ำยังมีการทำงานถี่ตลอดเวลา แสดงว่าบ้านท่านมีอาการรั่วซึม ต้องทำการตรวจเช็คโดยด่วน จากนั้นก็ตรวจเช็คระบบช่องน้ำล้นในสุขภัณฑ์ ด้วยการขังน้ำไว้ ในสุขภัณฑ์ ในบริเวณที่ขังได้ เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ อ่างครัว ที่ซักผ้า ทดลองขังน้ำไว้ให้เต็ม ดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ เสร็จแล้ว
ปล่อยน้ำออกในทันทีดูว่าน้ำไหลได้สะดวกหรือไม่ ถ้ามีอาการ ปุดๆ แสดงว่า ไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศตัน หรือท่ออากาศเล็กไป และถ้าอยู่ในห้องน้ำเดียวกัน ให้ทดลองเปิดน้ำออกพร้อมกัน เพื่อดูว่า การแย่งกันไหลออกของน้ำ มีผลอย่างไร จะให้ดีลองกดชักโครกทดสอบการใช้งานไปพร้อมๆ กันด้วย ยิ่งดีครับ เพื่อให้ระบบน้ำ
แย่งกันใช้งาน ให้มากที่สุด และสังเกตด้วยว่าน้ำในชักโครกไหลคล่องหรือไม่ ตลอดจนทดสอบกดสายชำระทุกอัน ดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ จากนั้นให้เอาถังน้ำที่เตรียมไว้มา รองน้ำให้เต็ม แล้วค่อยๆ เทลงพื้นห้องน้ำ
เพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำ ถ้าทำได้ให้เอาผ้าอุดที่รูระบายน้ำพื้น ให้น้ำขัง แล้วค่อยปล่อยน้ำให้ไหล ดูว่า การระบายน้ำที่พื้น เป็นอย่างไร สุดท้ายลองตรวจสอบดูตามจุดอับ จุดซ่อนเร้นต่าง ๆ เช่น บริเวณใต้เคาร์เตอร์
ว่าช่างเก็บงานเรียบร้อยหรือไม่ ตรวจสอบปากท่อระบายน้ำทุกที่ ไม่ควรมีวัสดุหรือรอยปูนตกค้างอยู่

11.สายโทรศัพท์
อุปกรณ์ที่ต้องมีโทรศัพท์บ้าน อย่างน้อย 2 เครื่อง
เอาแบบใช้ถ่านนะ พร้อมสายต่อเพื่อน คนสนิท หรือ คนทางบ้าน อย่างน้อยอีก 1 คนเช่นกัน
1.หลายๆบ้านที่ทางโครงการมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ให้ในกำแพง ให้เอาโทรศัพท์ไปต่อดู แล้วยกหูฟังดูแล้วลองคุยกันดู ว่าได้ยินหรือไม่
หมายเหตุ – การเช็คแบบนี้ไม่ต้องรอให้มีเบอร์โทรศัพท์ก่อนก็ได้ การบำรุงรักษาบ้าน
ที่มา http://www.prakard.com

วิธีการปูกระเบื้อง

1. วิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก
1.1 การปูกระเบื้องพื้นใช้วิธีการปูแบบเปียก คือเทปูนทรายปรับระดับ แล้วจึงเริ่มปูกระเบื้องโดยระวังไม่ให้เกิดโพรงอากาศระหว่างกระเบื้องกับผิวปูน ซึ่งเป็นวิธีที่กระเบื้องจะติดแน่นกับผิวพื้นได้ดี
1.2 ก่อนปูกระเบื้องต้องขึงเชือกหาแนวดิ่ง ฉากของกระเบื้องในแถวแรกเพื่อเป็นแนวในการปูแถวต่อ ๆ ไป หากเป็นการปูสลับแนวต้องควบคุมแนวกระเบื้องให้ระยะของแนวที่ปูสลับเท่ากันโดยตลอดจัดระยะห่างของกระเบื้องทั้งด้านสั้นและด้านยาวให้เท่ากัน แนวกระเบื้องบริเวณมุมและรอยต่อมีความเรียบร้อย ระยะความสูงเสมอกัน ได้แนวระนาบ ขนาด สี ลวดลาย ความประณีตของเนื้องาน ความลาดเอียงของพื้นต้องมีทิศทางที่ช่วยให้น้ำไหลลงท่อได้สะดวก
1.3 ระหว่างปูกระเบื้องต้องหมั่นซับทำความสะอาดน้ำปูนระวังอย่าให้จับเป็นคราบ ฝ้า ผิวกระเบื้องที่ปูแล้วต้องได้ระดับเสมอกันทุกแผ่น เหลี่ยมมุมของกระเบื้องไม่แตกบิ่น ชำรุด

2. วิธีการปูกระเบื้องแบบซาลาเปา
2.1 การปูกระเบื้องพื้นโดยใช้วิธีการปูแบบซาลาเปา คือการปูโดยช่างจะใช้ปูนพอกเป็นก้อนบนหลังแผ่นกระเบื้อง เหมือนลูกซาลาเปา แล้วนำแผ่นกระเบื้องวางบนผิวปูนหยาบ เนื้อปูนบริเวณผิวพื้นด้านล่างจะไม่เสมอ จึงมีโอกาสที่แผ่นกระเบื้องแตกบริเวณมุม ปูนยาแนวแตก น้ำจะซึมเข้าไปใต้แผ่นกระเบื้อง ทำลายโครงสร้างอาคาร ความชื้นที่สูงมากและระบายออกไม่ทัน ทำให้กระเบื้องพื้นระเบิด (กระเบื้องจะหลุดออกมาจากพื้นเป็นแผ่นๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ความชื้น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง คุณภาพกระเบื้องที่มีอัตราส่วนการยืดหดตัวสูง การปูกระเบื้องแบบชิด)

3. วิธีการปูกระเบื้องแบบปูนกาว
3.1 การปูกระเบื้องพื้นโดยใช้วิธีการปูแบบปูนกาว คือใช้เกรียงฟันร่องดักปูนใส่ด้านหลักระเบื้องฉาบเป็นร่องปาดให้ทั่วทั้งแผ่นด้วยการออกแรงกดเบาๆ ให้มีเนื้อปูนประมาณ 5 มิลลิเมตร
3.2 นำกระเบื้องติดบนพื้นตามแนวแล้วเคาะเบาๆ ด้วยค้อนยางหรือด้ามเกรียงให้แน่นกับพื้นผิวปาดปูน ส่วนเกินออก
3.3 ปูแผ่นต่อไปโดยให้ช่องห่างแนวกระเบื้องประมาณ 2-3 มม. เป็นแนวตรงไม่บิดเบี้ยว โดยปูตามแนวของเส้นที่ที่ไว้ทั้งแนวนอนและแนวตั้งก่อน แล้วค่อยปูให้เต็มพื้นที่
3.4 ควรทิ้งไว้ 1 วัน ก่อนถึงสามารถเหยียบเข้าไปเก็บส่วนที่ขาดรอบห้องได้ การปูกระเบื้องในส่วนที่ไม่เต็มแผ่นจะต้องวัดส่วนที่ต้องการตัดออกด้วยตลับเมตรว่าต้องการขนาดเท่าไร ขีดเส้นทำความเครื่องหมายก่อนนำไปตัดด้วยแท่นตัดกระเบื้อง หรือเครี่องเจียรแบบลูกหนูทดลองวางดูก่อนฉาบปูนให้มีร่องห่างกันประมาณ 2-3 มม.
3.5 ผสมปูนยาแนว 1 ส่วน กับน้ำ 1 ส่วน ฉาบยาแนวลงในส่วนของร่องรอยต่อของกระเบื้องให้เต็มทิ้งไว้ให้พอหมาดจึงเช็ดออกด้วยฟองน้ำชุมน้ำหมาดๆ จนร่องยาแนวเรียบสนิท ความกว้างของร่องกว้างเสมอกันตลอดแนว

4. วิธีการตรวจรับงานปูกระเบื้อง
ขั้นตอนที่ 1
ความสวยงาม-กระเบื้องที่มีสีสันและลวดลายแบบเดียวกัน ควรปูแล้วดูกลมกลืนกันไม่ควรมีแผ่นใดแผ่นหนึ่งมีสีผิดเพี้ยน เด่น สะดุดตาขึ้นมา แนวขอบกระเบื้องหรือแนวร่องต้องเป็นเส้นตรงไม่บิดเบี้ยว เฉ เอียง ซึ่งตรวจสอบได้โดยการใช้เชือกขึงดู ระยะของร่องยาแนวควรอยู่ระหว่าง 1-3 มม. ไม่ควรห่างจนเกินไป
ขั้นตอนที่ 2
ความราบเรียบ-กระเบื้องทุกแผ่นต้องเรียงอยู่ในระดับเสมอเท่ากันกับแผ่นข้างเคียง ถ้าเป็นผนังตรวจสอบได้โดยการใช้มือลูบถ้าเป็นพื้นตรวจสอบได้โดยการใช้เหรียญวางแนบลงระหว่างรอยต่อของแผ่นถ้าสามารถกดเหรียญแล้วกระดกได้ แสดงว่ากระเบื้อง 2 แผ่นนั้นปูไม่ได้ระดับเสมอกัน
ขั้นตอนที่ 3
ระดับความลาดเอียงของพื้น-พื้นที่ปูควรมีระนาบเอียงไปสู่ตำแหน่งที่ให้น้ำไหลระบายลงไปได้เช่นขอบพื้นหรือรูท่อน้ำระบายน้ำทิ้งตรวจสอบได้โดยการทดลองราดน้ำลงที่พื้นให้เปียกอย่างทั่วถึง แล้วสังเกตดูทิศทางไหลของน้ำ และดูว่ามีบริเวณใดที่มีน้ำไหลไปรวมกันเป็นแอ่ง
ขั้นตอนที่ 4
การยาแนวร่อง-ควรใช้ปูนซีเมนต์ขาว หรือกาวยาแนว ร่องยาแนวที่เรียบร้อยต้องดูเนียนเรียบไม่มีเศษปูนล้นร่อง ไม่มีก้อนปูนขรุขระ ไม่มีรูเล็กรูน้อย ซึ่งอาจกลายเป็นที่อยู่อาศัยของมดแมลงได้ ตรวจสอบได้โดยการใช้นิ้วลูบตามแนวร่อง
ขั้นตอนที่ 5
ควรใช้ปูนซีเมนต์ขาว หรือกาวปูเซรามิค เพื่อการยึดเกาะที่ดี และป้องกันปัญหาเรื่องความชื้นหรือเชื้อรา-วัสดุที่ใช้ต้องปาดให้เรียบเต็มแผ่นกระเบื้องเพื่อการยึดเกาะเต็มที่และเพื่อความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก-ตรวจสอบได้โดยการเคาะเบา ๆ ด้วยของแข็งแล้วฟังดูว่าใต้กระเบื้องโปร่งหรือไม่

ที่มา http://www.prakard.com

รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ

รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141

แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี

รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)

เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!!  สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Line:  line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล :   baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ :   http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/


รับออกแบบบ้านและอาคาร 
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต.  กนอ.  นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว  แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ  วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ  วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ     
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์  และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด 
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา  
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร  รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา   
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์  โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ  ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า  
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์  ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector