แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของบ้าน

กฏกระทรวงฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2543 )ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวอาคาร

หมวด 4 แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคาร
ข้อ 40 การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารหรือส่วนของอาคารจะต้องไม่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณะนั้น

ข้อ 41 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร
อาคารที่สูงเกินสองชั้นหรือเกิน 8 เมตร ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย หรือคลังสินค้า ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ
(1) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
(2) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(3) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

ข้อ 42 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร
ทั้งนี้ เว้นแต่ สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ หรือที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถไม่ต้องร่นแนวอาคาร

ข้อ 43 ให้อาคารที่สร้างตามข้อ 41 และข้อ 42 ต้องมีส่วนต่ำสุดของกันสาดหรือส่วนยื่นสถาปัตยกรรมสูงจากระดับทางเท้าไม่น้อยกว่า 3.25 เมตร ทั้งนี้ ไม่นับส่วนตบแต่งที่ยื่นจากผนังไม่เกิน 50 เซนติเมตร และต้องมีท่อรับน้ำจากกันสาดหรือหลังคาต่อแนบหรือฝังในผนังหรือเสาอาคารลงสู่ท่อสาธารณะหรือบ่อพัก

ข้อ 44 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

ข้อ 45 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสองสายนั้นไม่เกิน 60 เมตร และส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน 60 เมตร ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า

ข้อ 46 อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากัน ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุด จากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า และความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 60 เมตร
สำหรับอาคารซึ่งเป็นห้องแถวหรือตึกแถว ความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 15 เมตร

ข้อ 47 รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ

ข้อ 48 การก่อสร้างอาคารใกล้อาคารอื่นในที่ดินเจ้าของเดียวกัน พื้นหรือผนังของอาคารสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร และสำหรับอาคารที่สูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถ

ข้อ 49 การก่อสร้างอาคารในบริเวณด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถว
(1) ถ้าห้องแถวหรือตึกแถวนั้นมีจำนวนรวมกันได้ตั้งแต่สิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันได้ตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป และอาคารที่จะสร้างขึ้นเป็นห้องแถวหรือตึกแถว ห้องแถวหรือตึกแถวที่จะสร้างขึ้นต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวเดิมไม่น้อยกว่า 4 เมตร แต่ถ้าเป็นอาคารอื่นต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวเดิมไม่น้อยกว่า 2 เมตร
(2) ถ้าห้องแถวหรือตึกแถวนั้นมีจำนวนไม่ถึงสิบคูหาและมีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร อาคารที่สร้างขึ้นจะต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร เว้นแต่การสร้างห้องแถวหรือตึกแถวต่อจากห้องแถวหรือตึกแถวเดิมตามข้อ 4

ข้อ 50 ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
(1) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
(2) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
ผนังของอาคารที่อยู่ห่างเขตที่ดินน้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เว้นแต่จะก่อสร้างชิดเขตที่ดินและอาคารดังกล่าวจะก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารที่อยู่ชิดเขตที่ดินหรือห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องก่อสร้างเป็นผนังทึบ และดาดฟ้าของอาคารด้านนั้นให้ทำผนังทึบสูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดินต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้นด้วย

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 3-216 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วน เนื้อที่ ที่ตั้งของอาคาร ระดับ เนื้อที่ของที่ว่างภายนอกอาคารหรือแนวอาคาร และระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคารหรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ทางเท้าหรือที่สาธารณะ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ประกอบกับมาตรา 8(1) (7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้การกำหนดดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 75 ก วันที่ 7 สิงหาคม 2543
ที่มา :สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

การขออนุญาตก่อสร้าง

1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
- หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
- รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
- แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
- หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
- แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
- เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลธัญบุรี จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร, ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)
3. การพิจารณา
- ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
- การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
- แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
1). ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
2). ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
3). ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
4). แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
5). วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
- อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
- อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
- ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด
5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ (ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้
5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคารให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น
5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อสร้างที่จอดรถแทนของเดิมให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบอนุญาตได้
5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
- แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
- แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
- ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
- ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
- ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด
- แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน
- ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
- แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด
- แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
- สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตรา ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
- แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน
- รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
- รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบอนุญาตไว้ด้วย
6. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท

7. บทกำหนดโทษ
7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
- ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
- เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
- เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง

เลือกสีทาบ้านอย่างไรให้คงทนสวยงาม

การเลือกสีทาบ้านก็ถือเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้านเช่นกันสำหรับผู้คนภายนอก ที่พบเห็น เพราะฉะนั้นการเลือกสีทาบ้านจึงต้องพิถีพิถันทั้งในแง่ของความสวยงามและ คุณภาพของเนื้อสี เพื่อความงดงามที่ทนทานของบ้านท่านและประหยัดเงินในกระเป๋าในยุคที่เศรษฐกิจ ตกสะเก็ด

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำข้อมูลที่ได้ไปเลือก ซื้อสีทาบ้านได้อย่างถูกต้อง ผมจะแนะนำชนิดของสีพร้อมคำแนะนำในการเลือกใช้ไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ

สีทาบ้านที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติและวิธีการใช้ต่างกันออกไปดังนี้ครับ

1.สีน้ำมัน เป็น สีที่ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย หมายความว่าเมื่อผสมสีทาไปแล้วเกิดสีแห้งทำให้เกิดความหนืดในการทาก็ให้ผสม ทินเนอร์ลงไปก็จะทำให้สีทาง่ายขึ้น สีน้ำมันเหมาะสำหรับใช้ทาพื้นผิวไม้และเหล็กกจะทำให้ยืดอายุการใช้งานของ วัสดุและสร้างความงดงามให้กับผิววัสดุภายนอก สีชนิดนี้ไม่เหมาะกับการใช้ทาไม้เทียมและผิวคอนกรีต เพราะอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น จากประสบการณ์ทาได้ไม่นานก็หลุดร่อนแล้ว สีน้ำมันมีให้เลือกทั้งชนิดเงาและด้าน

2.สีน้ำอะครีลิค หรือสีน้ำพลาสติก ที่เราเรียกกันจนชินสมัยก่อน เป็นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายใช้ง่าย ล้างออกง่าย สีน้ำอะครีลิคเหมาะกับการใช้ทาผนังคอนกรีตเพราะเนื้อสีที่ผสมน้ำสามารถแทรก ซึมได้ดีในเนื้อคอนกรีตทำให้อายุการใช้งานยาวนาน สีน้ำอะครีลิคไม่เหมาะกับการนำไปทาบนผิวไม้หรือโลหะเพราะจะหลุดร่อนได้ง่าย สีน้ำอะครีลิคมีให้เลือกหลายเกรด มีทั้ง A,B,C ทั้งนี้ราคาก็แตกต่างกันไป มีตั้งแต่แกลลอนไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน สีชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

2.1 ชนิดใช้ทาภายนอก เป็นสีที่ต้องคุณภาพดีมากๆ ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ แข่งขันกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน บางยี่ห้อก็บอกว่าอยู่ได้เป็นสิบปี ผมว่าไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนอายุการใช้งานก็ใกล้เคียงกันอยู่ที่การเลือกใช้ ให้เหมาะสม เช่น เลือกใช้สีเกรดเอ ใช้ชนิดกึ่งเงากึ่งด้านเพื่อป้องกันคราบสกปรกและจะต้องมีวิธีการทาอย่างถูก ต้อง ตามขั้นตอน เช่น จะต้องทาสีรองพื้นก่อนเสมอ ในกรณีที่เป็นผนังเก่าจะต้องล้างสีเก่าออกให้หมดปล่อยให้แห้งสนิทแล้วทาสี กันเชื้อราพร้อมทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทาสีจริง เพียงเท่านี้สีบ้านคุณก็จะคงทน สีน้ำอะครีลิคมีให้เลือกทั้งชนิดเงาและชนิดกึ่งเงากึ่งด้าน ซึ่งถ้าจะให้ผมแนะนำควรเลือกใช้ชนิดกึ่งเงากึ่งด้านเพื่อความคลาสสิกของบ้าน และลดแสงสะท้อนภายนอกด้วย

2.2 ชนิดทาภายใน สีชนิดนี้เลือกใช้ได้ไม่ยาก เอาเป็นว่าเลือกใช้สีคุณภาพปานกลางก็พอ เนื่องจากอยู่ภายในไม่ต้องเจอกับสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนเดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก ดังนั้นการเลือกใช้จึงง่ายใช้ยี่ห้อใดก็ได้ เพียงแต่ต้องทาสีรองพื้นที่มีคุณภาพดีหน่อย เนื่องจากสีรองพื้นที่ดีจะช่วยกันความชื้นและปกป้องเชื้อราที่เกิดจากความ ชื้นอีกด้วย สำหรับสีภายในผมขอแนะนำให้ใช้สีกึ่งเงากึ่งด้าน โดยมีสัดส่วนเงา 30 เปอร์เซ็นต์ ด้าน 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด

3. สีย้อมไม้ สีชนิดนี้ใช้สำหรับบ้านที่มีส่วนประกอบผนังบ้านเป็นไม้ และต้องการโชว์ลวดลายของไม้ จึงเหมาะเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่ต้องการรักษาความงดงามของเนื้อไม้ให้อยู่กับท่านได้ยาวนาน สีย้อมไม้ชนิดนี้สามารถเลือกสีที่ต้องการได้หลายเฉดสี

4.สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้สำหรับเคลือบเนื้อไม้ไว้ไม่ให้ทรุดโทรมเร็ว และยังเพิ่มความเงางามให้กับเนื้อไม้อีกด้วย เช่น แลคเกอร์ ยูนิเทน เป็นต้นโดยถ้าเป็นไม้ภายในแนะนำสีแลคเกอร์ ถ้าเป็นภายนอกต้องใช้ประเภทยูนิเทรนหรือเคมเกรซเท่านั้น

เป็นอย่างไร บ้างครับ เห็นไมว่าการเลือกสีทาบ้านนั้นเลือกได้ไม่ยากถ้าคุณใส่ใจหาข้อมูลก่อนที่จะ ไปเลือกซื้อ และที่สำคัญเมื่อเลือกซื้อได้ถูกต้องแล้วจะต้องทาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ด้วย สีบ้านของท่านจึงจะสวยงามและคงทนยาวนาน สำหรับฉบับนี้ผมขอฝากไว้เพียงเท่านี้แล้วพบกันฉบับหน้าครับ


ที่มาของข้อมูล: KHomeSmile

วิธีการเลือกซื้อสีทาบ้าน

ประเภทของสีทาบ้านชนิดต่างๆ
แบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสีดังนี้

1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้
3. สีย้อมไม้ เป็ฯสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ
4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกรอ์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้
5. สีกันสนิม เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
6. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น

ส่วนประกอบต่างๆของสีทาบ้าน
โดยทั่วไปจะประกอบด้วย

1. สารยึดเกาะหรือ อะครีบิคซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
2. ผงสีซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
3. ตัวทำละลายซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา

เกรด หรือคุณภาพของสีทาบ้านที่เราควรรู้
โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง
เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
เกรด C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค 70% การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
เกรด D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Rasa Property Development

ขั้นตอนและวิธีการเลือกซื้อบ้าน

"บ้าน" เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีราคาแพงที่สุด และยังเป็นทรัพย์สินที่มีราคาแพงที่สุดในช่วงชีวิตของคนๆ หนึ่ง การซื้อบ้านหนึ่งหลังจึงอาจจะซื้อได้ครั้งเดียวในชีวิต ดังนั้นการเลือกและการตัดสินใจซื้อบ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้ที่ปรารถนาอยากจะมีบ้านเป็นคนตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละคนไม่ค่อยจะมีประสบการณ์หรือความรู้ในการเลือกซื้อบ้านมาก นัก ด้วยความที่เป็นทรัพย์สินที่หาซื้อกันไม่บ่อย ทำให้การเลือกและตัดสินใจซื้ออาจเกิดขึ้นตามแรงจูงใจและการโฆษณาของผู้ขาย เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้อยู่อาศัยและเกิดปัญหาขึ้น มากมายภายหลังการเข้าอยู่อาศัย
ดังนั้นก่อนที่จะคิดตัดสินใจซื้อบ้าน ควรจะพิจารณาหลักการในเบื้องต้นเพื่อให้บ้านที่จะซื้อเป็นที่อยู่อาศัยที่มี คุณค่าอย่างแท้จริงสำหรับผู้อยู่อาศัย โดยมีวิธีเลือกซื้อที่เป็นขั้นตอนอย่างกว้างๆ ทั้งการซื้อบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือห้องชุด ดังนี้


- การพิจารณาทำเลที่ตั้งโครงการ
หลังจากที่ผู้ซื้อประเมินกำลังเงินของตัวเองอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า รายได้ของครอบครัวเหมาะสมที่จะซื้อที่อยู่อาศัยในประเภทไหนที่จะกู้เงินกับ ธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ และสามารถผ่อนส่งได้โดยไม่เดือดร้อน สิ่งแรกที่ผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติ คือ การหาข้อมูลเบื้องต้นของบ้านที่ต้องการซื้อ โดยยึดเอาทำเลที่ตั้งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกที่สุด มาเป็นข้อพิจารณาอันดับแรก ได้แก่ การเดินทางไปสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของสมาชิกในครอบครัว ระบบโครงข่ายคมนาคมที่มีระบบขนส่งรองรับ ทำให้การเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจประจำวันสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้ จ่าย ซึ่งการเลือกทำเลที่ตั้งของบ้านจะพิจารณาจากความเหมาะสมกับความต้องการและ วิถีชีวิตของคนในครอบครัวเป็นหลัก


- เลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม
เมื่อผู้ซื้อได้ทำเลที่ต้องการแล้ว ในแต่ละทำเลจะมีโครงการที่ให้ผู้ซื้อเลือกอย่างมากมายทั้งโครงการขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก สิ่งที่จะต้องพิจารณาในขั้นตอนต่อไป คือ การพิจารณาเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม สำหรับโครงการที่ดีนั้นควรจะมีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบถ้วน เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายการจัดสรรที่ดินกำหนด หรือไม่ สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ หรือสปอร์ต คลับ มีตรงตามความต้องการของผู้ซื้อหรือไม่ ในบริเวณใกล้เคียงโครงการมีโรงเรียน โรงพยาบาล หรือศูนย์การค้าหรือไม่ รวมถึง สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโครงการ เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัวหรือไม่
นอกจากนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประกรหนึ่ง คือ บริษัทหรือเจ้าของโครงการมีความน่าเชื่อถือมีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการ ที่อยู่อาศัยมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากประวัติชื่อเสียงและผลงานในอดีต เพื่อเป็นเครื่องรับประกันในขั้นต้นว่า ผู้ซื้อจะได้บ้านที่มีมาตรฐานทั้งด้านความมั่นคงแข็งแรง และก่อสร้างบ้านให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันอย่างตรงเวลา ในกรณีนี้ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์และมีความเป็นมืออาชีพ จะได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีผลงานในการก่อสร้างเลย

สำหรับเรื่องราคาเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลียงไม่ได้ที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณา ให้ตรงกับกำลังซื้อที่มีอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การซื้อบ้านโดยคำนึ่งถึงราคาที่ถูกที่สุดไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้องเสมอไป เพราะโครงการที่มีราคาถูกอาจจะก่อสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำระยะการใช้งานน้อยทำให้ชำรุดทรุดโทรมได้ง่ายเสีย ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาในระยะยาวกว่าบ้านที่มีราคาสูง แต่ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน ดังนั้นการพิจารณาเรื่องราคาบ้านในโครงการประเภทเดียวกันขนาดเท่ากันจะคำนึง ถึงความคุ้มค่ามากกว่า โดยพิจารณาในแง่ของราคาที่ดิน ราคาค่าก่อสร้าง และคุณภาพของตัวบ้านเป็นประเด็นหลัก

การเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสม ผู้ซื้อจะสามารถนำโครงการที่อยู่ในทำเลเดียวกันมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียใน จุดต่างๆ ได้ เพื่อคัดเลือกโครงการและบ้านที่มีราคาเหมาะสมคุ้มค่ากับการซื้อ การพิจารณาเปรียบเทียบจะทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ผู้ซื้อจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านในโครงการไหนราคาเท่าไหร่ โดยการเปรียบเทียบทั้งด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม ราคาซื้อขายต่อตารางเมตร คุณภาพวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ผู้ซื้อสมควรเปรียบเทียบข้อมูลจากการไปดูสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการจริง นำมาประมวลโดยการให้คะแนนในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการปรึกษากับสมาชิกในครอบครัว และสอบถามจากผู้ที่ซื้อบ้านอยู่ในโครงการนั้นๆ ผู้ซื้อจะได้บ้านในโครงการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด


-การเลือกตำแหน่งที่ดินและแบบบ้าน
เมื่อผู้ซื้อสามารถเลือกโครงการและราคาที่เหมาะสมได้แล้ว สิ่งที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาในขั้นต่อไป คือ การเลือกตำแหน่งที่ดินและแบบบ้าน สำหรับเรื่องตำแหน่งที่ดินใน โครงการจะเลือกแปลงที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น อยู่ใกล้สวนสาธารณะ เพื่อต้องการสัมผัสความเป็นธรรมชาติและสะดวกในการออกกำลังกาย ต้องการอยู่ด้านในโครงการเพื่อต้องการความสงบเงียบ แต่อาจจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในทรัพย์สิน ในกรณีที่โครงการไม่สามารถจัดเวรยามได้เพียงพอ หรือต้องการอยู่ด้านหน้าโครงการเพื่อความสะดวกในการเดินทางหรือต้องการ ประกอบกิจการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก นอกจากนั้นผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงราคาบ้านที่เลือกในแต่ละแปลงซึ่งจะมีความ แตกต่างกันออกไปอีกด้วย


สำหรับแบบบ้านก็เช่นเดียวกัน การเลือกขึ้นอยู่กับความชอบและความต้องการของผู้ซื้อเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันแต่ละโครงการจะมีแบบบ้านให้ผู้ซื้อเลือกอย่างมากมาย ทั้งสไตล์ร่วมสมัย สไตล์โมเดิร์น หรือสไตล์ไทยประยุกต์ที่กำลังเป็นที่นิยม แต่ในขณะเดียวกันผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยภายในบ้านที่เหมาะสม กับความต้องการ และความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญ ประโยชน์ใช้สยที่เหมาะสม อาทิเช่น มีห้องต่างๆ ตรงกับความต้องการ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป สามารถติดต่อกันภายในระหว่างห้องได้สะดวกไม่ต้องขึ้นๆ ลงๆ ป้องกันแดด ฝนได้ดี มีการถ่ายเทอากาศดี ซึ่งรูปแบบบ้านจะต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ การนำแบบบ้านในต่างประเทศมาใช้จะต้องมีการปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ด้วยเช่นกัน


วิธีและขั้นตอนดังที่กล่าวข้างต้น ช่วยทำให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจเลือกซื้อบ้านได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความ เป็นอยู่และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง เพราะเลือกซื้อบ้านที่ไม่คุ้มค่ากับการอยู่อาศัย

แหล่งข้อมูล : www.ghbhomecenter.com

เทคนิคการเลือกซื้อบ้านเดี่ยว

การเลือกซื้อบ้านเดี่ยว มีหลักเกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อให้ได้บ้านที่ถูกใจและคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป
ปัจจุบัน "บ้านเดี่ยว" เป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยของอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง ส่งผลให้กำลังการซื้อของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จากคนที่เคยมีความสามารถผ่อนบ้านได้เดือนละ 7,000-8,000 บาท ซึ่งโดยปกติในภาวะอัตราดอกเบี้ย 13-14% จะสามารถซื้อหาได้เพียงทาวน์เฮาส์ 1 หลัง แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือ 6-7% ทำให้เงินที่เคยผ่อนบ้านจำนวนเท่าเดิม สามารถขยับขยายซื้อบ้านเดี่ยวได้อย่างไม่ยากเย็น

ตลาดบ้านเดี่ยวได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออยู่ไม่น้อยทีเดียว โครงการจัดสรรต่างหันมาเปิดโครงการบ้านเดี่ยวกันอย่างคึกคัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในการขายด้วยดี เมื่อตลาดบ้านเดี่ยวเปิดกว้างมีสินค้าหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือกอย่างมากมาย ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ในการซื้อบ้านเดี่ยวสักหนึ่งหลัง นอกจากเรื่องรูปแบบบ้านถูกใจและราคาที่เหมาะสมกับกำลังทรัพย์แล้ว ยังมีเรื่องที่ผู้ซื้อควรที่จะต้องรู้มากมายในการตัดสินใจซื้อเพื่อให้ได้ บ้านที่ดีและคุ้มค่าที่สุด

-ขนาดของที่ดินและลักษณะของที่ดิน ที่ในการก่อสร้างบ้านเดี่ยว ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้ต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตารางวา เมื่อทำการปลูกสร้างบ้านแล้วจะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งเพียงพอที่จะทำเปิดช่อง เปิดได้ (ในกรณีที่ผู้ซื้อต้องการจะเจาะหน้าต่างเพิ่มหรือเปิดผนังด้านใดด้านหนึ่งใน ภายหลัง) ซึ่งเทศบัญญัติการก่อสร้างอาคาร กำหนดให้ตัวบ้านจะต้องห่างจากเขตอย่างน้อยที่สุด 2 เมตร หรือมีพื้นที่ปิดโล่งรอบตัวบ้านไม่ต่ำกว่า 2 เมตร นั่นเอง นอกจากนั้นความกว้าง-ยาวของที่ดินไม่ควรจะแตกต่างกันมาจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อรูปร่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อพิจารณาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ตำแหน่งการปลูกสร้างบ้านในโครงการจัดสรรมักจะมีที่ดินจำกัด หลักโดยทั่วไป คือไม่ควรวางตำแหน่งของตัวบ้านไว้กลางพื้นที่พอดี เพราะจะทำให้พื้นที่ย่อยๆ ที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ การเลือกซื้อบ้านเดี่ยวจึงควรพิจารณาถึงตัวบ้านที่วางตำแหน่งให้มีพื้นที่ เปิดโล่งเป็นพื้นที่เดียวกันให้มากที่สุด เพื่อสามารถใช้พื้นที่นั่นให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด

นอกจากนั้น การเลือกบ้านเดี่ยวในโครงการจัดสรรจะต้องพิจารณาในเรื่องทิศทางของแดด ลม และฝนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นกัน เนื่องจากลักษณะของอาคารที่ดีจะต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดีตลอดทั้งบ้าน แต่การเลือกซื้อบ้านเดี่ยวในโครงการจัดสรรมักจะมีข้อจำกัดในเรื่องของ พื้นที่ ลักษณะรูปทรงของอาคารที่ผู้ซื้อต้องเลือกแบบตามที่โครงการกำหนด ดังนั้นการเลือกตำแหน่งและทิศทางของบ้านให้ถูกต้องตามหลักธรรมชาติแล้วจะ ช่วยให้บ้านอยู่อาศัยได้อย่างสบายและไม่เสียค่าใช้จ่ายที่อาจจะตามมาภายหลัง เช่น การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เป็นต้น

การพิจารณาตำแหน่งบ้านให้สอดคล้องกับธรรมชาติต้องคำนึงถึงแสงแดด จากการเดินทางของดวงอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในลักษณะอ้อมไปทางทิศ ใต้แดดจะเริ่มแรงในช่วงบ่าย ดังนั้นถ้าห้องใดที่ผู้ซื้อไม่ต้องการให้ได้รับความร้อนมาก เช่น ห้องนอน จึงไม่ควรให้อยู่ในตำแหน่งทางทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรให้ตัวบ้านในทิศดังกล่าวมีส่วนป้องกันแดด หรือปลูกต้นไม้ให้เกิดร่มเงา เป็นต้น

-การจัดประโยชน์ใช้สอยภายในบ้าน เมื่อก้าวเข้าสู่ในตัวบ้าน สำหรับการเลือกซื้อบ้านเดี่ยวแล้ว จะต้องพิจารณาประโยชน์ใช้สอยในแต่ละห้องที่มีลักษณะการใช้ที่แตกต่าง การเลือกซื้อบ้านที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่ถูกต้องกับการใช้งาน ในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ในแต่ละบ้านจะแบ่งเป็นส่วนสำคัญ ดังนี้

ห้องนอน จะเป็นห้องที่สำคัญที่สุดในบ้าน เพราะเป็นห้องที่ใช้สำหรับการพักผ่อนนอนหลับ ดังนั้นห้องนอนที่จะสนองตอบต่อการพักผ่อนได้ดีที่สุดควรจะต้องอยู่ทางทิศ ตะวันออกและทิศใต้ เพื่อรับแสงแดดในตอนเช้าและไม่ร้อนในตอนบ่าย ส่วนห้องนอนที่อยู่ทางทิศใต้ จะได้รับลมธรรมชาติ สำหรับห้องนอนควรจะมีหน้าต่างอย่างน้อย 2 ด้าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ห้องน้ำ เป็นห้องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ตำแหน่งของห้องน้ำต้องคำนึงถึงการใช้ที่สะดวก อยู่ในที่มิดชิด และไม่ควรให้ห้องน้ำอยู่ต้นลม ถ้าสามารถเลือกห้องน้ำที่อยู่ทางทิศตะวันตกได้ เพราะแดดและความร้อนจะช่วยให้ห้องน้ำแห้งได้ง่ายและไม่อับชื้น

ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องพักผ่อนนั่งเล่น เป็นห้องที่ต้องการความสบายในการใช้งาน และถือเป็นหน้าตาของบ้าน ถ้าผู้ซื้อสามารถเลือกได้ ทั้งห้องรับแขก ห้องอาคารและห้องนั่งเล่น ควรตั้งอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้ได้รับลมธรรมชาติ ห้องรับแขกควรที่จะอยู่ด้านหน้าสุดของตัวบ้าน ห้องอาหารควรอยู่ติดกับห้องครัว เพื่อสะดวกในการใช้สอย

ห้องครัว เป็นส่วนที่ควรจะอยู่ในตำแหน่งด้านหลังของตัวบ้าน โดยเฉพาะครัวแบบไทยควรที่จะแยกออกเป็นส่วนเฉพาะ การเลือกตำแหน่งห้องครัวใช้หลักเดียวกับตำแหน่งห้องน้ำ คือไม่อยู่ต้นลมมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการอับชื้น และมีทางเข้าออกได้สะดวก

-การพิจารณาราคาบ้านที่เหมาะสม นอกจากการพิจารณาในเรื่องของที่ดิน ตำแหน่งบ้าน และการใช้ประโยชน์ใช้สอยภายในบ้าน ซึ่งเป็นข้อพิจารณาตามหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้ซื้อได้เลือกบ้านเดี่ยวที่อยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย ในเรื่องของราคาเป็นอีก ปัจจัยหนึ่งที่ผู้ซื้อควรรู้ว่า บ้านในระดับราคาที่จะซื้อ ควรมีการใช้วัสดุมาตรฐานอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบจากโครงการจัดสรรได้ว่าบ้านที่ขายราคาสูงเกิน ไปหรือไม่ หรือในราคาบ้านที่เท่ากัน โครงการไหนมอบสิ่งที่เพิ่มขึ้นจากมาตรฐานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในการเลือกซื้อ

โดยปกติราคาบ้านในโครงการจัดสรร จะประกอบไปด้วยต้นทุนในการพัฒนา 3 ส่วน คือ ต้นทุนที่ดินดิบ ต้นทุนการพัฒนาสาธารณูปโภค และต้นทุนในการก่อสร้าง ในส่วนของต้นทุนที่ดินดิบบริษัทพัฒนาที่ดินแต่ละรายจะไม่แตกต่างกันมากนัก ยิ่งในปัจจุบัน ผู้ประกอบการมักจะหาซื้อที่ดินโครงการที่เป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารยึดมาทำให้ ได้ราคาถูกกว่าก่อน สำหรับต้นทุนการพัฒนาสาธารณูปโภคจะถูกกำหนดราคาขั้นต่ำตามกฎหมายอยู่แล้วต้น ทุนจึงไม่แตกต่างเช่นเดียวกัน แต่ในส่วนของต้นทุนการก่อสร้างบ้านแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามการใช้วัสดุ และฝีมือในการบริหารการก่อสร้าง

สำหรับต้นทุนการก่อสร้าง ส่วนใหญ่บริษัทพัฒนาที่ดินจะจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างในลักษณะที่เรียกว่า Breakdown คือแยกส่วนงานไว้ชัดเจนทั้งค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง โดยคิดเป็นราคาต่อตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างของผู้ซื้อ สำหรับบ้านเดี่ยว ที่ว่าจ้างก่อสร้างในลักษณะดังกล่าว ถ้าเลือกใช้วัสดุปกติราคาจะตกประมาณ 7,000-8,000 บาทต่อตารางเมตร ถ้าเลือกใช้วัสดุค่อนข้างดีราคาตารางเมตรละ 12,000-18,000 บาท ถ้าเป็นการก่อสร้างที่ใช้วัสดุชั้นดีต้นทุนก่อสร้างจะสูงกว่า 22,000 บาทต่อตารางเมตร โดยมีอัตราเปลี่ยนแปลงบวกลบไม่เกิน 15% ทั้งนี้ราคาดังกล่าวจะยังไม่รวมค่าตกแต่งค่าออกแบบ งานระบบ งานโครงสร้าง รวมทั้งงบการตลาดที่ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะบวกเข้าไปในราคาขายด้วย

ที่มาของข้อมูล: freesplans

รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ

รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141

แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี

รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)

เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!!  สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Line:  line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล :   baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ :   http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/


รับออกแบบบ้านและอาคาร 
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต.  กนอ.  นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว  แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ  วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ  วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ     
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์  และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด 
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา  
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร  รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา   
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์  โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ  ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า  
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์  ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector