งบประมาณในการถมดิน

งบประมาณในการรื้อถอนบ้าน
การรื้อถอนบ้านเก่า เราจะต้องเรียกพวกรับรื้อถอน มาตีราคาหลายๆ รายเพื่อเปรียบเทียบราคา แล้วท่านจะพบว่าราคาแต่ละเจ้าต่างกันพอสมควร อันนี้บางทีก็เกี่ยวกับดรรชนีความซื่อสัตย์ของคนที่จะมารับจ้างเราด้วย
วัสดุเก่าในบ้านเราเปลี่ยนเป็นเงิน โดยเราสามารถขายให้คนรื้อถอนเพื่อหักค่าจ้างได้ แต่ก่อนตกลงว่าจ้างต้องคุยกันให้ละเอียดว่าเนื้องานที่จะให้ทำมีเท่าไรมาตรการป้องกันความเดือดร้อนรำคาญสำหรับ บ้านข้างเคียงเป็นอย่างไร ความรับผิดชอบกรณีทำให้ข้างบ้านเสียหาย เป็นต้น แต่ต้องระวังผู้รับเหมารื้อถอนที่เสนองานในราคาถูกๆ เพราะเวลาทำงานจริง ปรากฏว่าไม่มีทั้งความรับผิดชอบ และความเรียบร้อย งานทำไม่เสร็จแอบหมกเม็ดเอาไว้ เช่น ไม่ขุดฐานรากบ้านเก่าทิ้ง เอาดินกลบไว้ก็มี
งบประมาณในการถมดิน
ในการเปรียบเทียบราคา ขั้นแรก เราจะต้องพิจารณาผู้รับเหมาถมดิน จากแหล่งดินที่จะนำมาถมเป็นอันดับแรก ให้สอบถามแหล่งดินที่ผู้รับเหมาถมดินก่อนว่า ใช้ดินจากที่ไหน ให้พิจารณารายที่มีแหล่งดินที่อยู่ในย่านใกล้เคียงกับที่ดินของเรา
การว่าจ้างผู้รับเหมาถมดินเท่าที่เห็น มีสองแบบคือแบบเหมาจ่าย และ แบบตกลงกันเป็นคิวหรือเป็นคันรถ ซึ่งผมขอแนะนำว่าการตกลงกันแบบเหมาจ่าย เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดเพราะ ตรวจสอบจากเนื้องานได้ง่าย
แม้เราจะว่าจ้างถมดินแบบเหมาจ่ายก็ตาม ในขั้นตอนเสนอราคา เรามีวิธีการตรวจสอบราคา ก่อนตัดสินใจดังนี้
  • หาข้อมูลกลับไปว่า ถ้าว่าจ้างแบบเป็นคิว หรือ เป็นคันรถ ราคาในการถมพร้อมบดอัด ตกคิวละเท่าไร
  • เมื่อได้ราคาต่อคิวแล้ว เรามีวิธีการตรวจสอบปริมาณในการถมดินในที่ดินของเรา ดังนี้ครับ
  • แปลงที่ดินของเรา จากตารางวา เป็นตารางเมตร โดยการ เอา 4 คูณจำนวนตารางวา เช่นที่ดิน 100 ตารางวา คูณ 4 จะได้ 400 ตารางเมตร
  • ถ้าถมสูง 1 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1 x 400 = 400 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (80 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 480 คิว
  • ถ้าถมสูง 1.5 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1.5 x 400 = 600 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (120 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 720 คิว
  • ดินที่เหมาะที่จะนำมาใช้ถม ควรจะ เป็นดินท้องนา ในกรณีที่ที่ดินที่จะถม มีบ่อ หรือหลุมลึก ควรใช้ทราย เพื่อป้องกันการทรุดตัว เพราะเนื้อทรายละเอียดกว่า
  • ระดับที่จะถมตกลงให้ชัดเจน โดยอาจจะทำเครื่องหมายไว้ที่ที่ดินของเรา ส่วนการบดอัดเป็นอย่างไร บดอัดแน่นแค่ไหน
  • หลีกเลี่ยงการถมดินหน้าฝน เพราะช่วงหน้าฝนจะทำงานลำบาก และหาดินที่มาถมยาก

    งบประมาณสร้างบ้าน
ก่อนเข้าเรื่องงบประมาณประมาณสร้างบ้าน หรือ งบสร้างบ้าน ขอทำความเข้าใจก่อนว่าการว่าจ้างให้ใครสักคนมาสร้างบ้านให้นั้น ท่านทำได้หลายทางเลือก ซึ่งมีทางเลือก ดังต่อไปนี้
จ้างบริษัทรับสร้างบ้าน

จ้างสถาปนิกออกแบบก่อน แล้วหาผู้รับเหมามาประมูลสร้างบ้าน

จ้างผู้รับเหมา ให้ผู้รับเหมาไปหาสถาปนิกมาออกแบบให้

จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อรอง และว่าจ้างผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน มาช่วยดูแล การว่าจ้างให้กับท่าน

สำหรับวิธีการตั้งงบประมาณก่อสร้าง เพื่อการวางแผนทางด้านการเงิน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ทำได้ดังนี้
1. กรณีเลือกแบบบ้านมาตรฐานของบริษัทรับสร้างบ้าน
ในกรณีที่ท่านเลือกแบบบ้านมาตรฐาน ของบริษัทรับสร้างบ้านแล้ว ท่านจะทราบว่า งบประมาณที่จะใช้สร้างบ้านจากราคาที่บริษัทเสนอมาได้เลย แต่ท่านต้องตรวจสอบรายการวัสดุก่อสร้างทุกรายการ ที่ได้รับการเสนอมา ว่าละเอียดพอหรือไม่ ให้ระวัง สเปคที่เขียนไว้กว้างๆ ตรวจสอบวัสดุทุกรายการ ดูวัสดุที่ใช้ตกแต่ง (ดูของจริง) ว่าพอใจหรือไม่ หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะหากเปลี่ยนแปลงภายหลัง ท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างแน่นอน
2. กรณีออกแบบบ้านใหม่
กรณีที่ท่านออกแบบบ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการว่าจ้างสถาปนิกให้ออกแบบบ้านให้ หรือ ให้บริษัทรับสร้างบ้านออกแบบก็ตาม ก่อนลงมือออกแบบท่านก็คงอยากจะรู้ว่าบ้านหลังที่จะออกแบบนั้น จะใช้เงินค่าก่อสร้างสักเท่าไร
ถ้าท่านได้พูดคุยกับสถาปนิก สถาปนิกจะให้คำแนะนำกับท่าน ในเรื่อง งบประมาณที่จะสร้างบ้าน แต่ถ้าท่านยังไม่ได้ติดต่อกับสถาปนิกรายใดเลย แต่อยากจะรู้ว่าจะต้อง ตั้งงบสร้างบ้านสักเท่าไร ท่านมีวิธีการกำหนดงบประมาณด้วยตนเอง ดังนี้
หาแบบบ้านมาตรฐานของบริษัทรับสร้างบ้าน หรือจะดาวน์โหลดจากเว็บไซด์ของบริษัทรับสร้างบ้านก็ได้ เลือกแบบบ้านที่คิดว่าใกล้เคียงกับความ ต้องการของท่านให้มากที่สุด ( แต่ก็ยังไม่โดนใจ และต้องการออกแบบบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง) แบบบ้านที่หามานี้ใช้เป็นแบบตุ๊กตา ในการหาราคาค่าก่อสร้าง

แบบบ้านที่หามาดูนั้นควรจะหามาจากหลายๆ บริษัทฯ ให้ดูสัดส่วนระหว่างพื้นที่ใช้สอยภายใน และ ภายนอกของแบบบ้านแต่ละบริษัท ให้ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด (ไม่ต้องสนใจหน้าตาบ้าน เพราะเราจะออกแบบใหม่ )

แบบที่ท่านเลือก จะมีรายการวัสดุอยู่ด้วยให้เลือกรายการวัสดุที่ใกล้เคียงกับความต้องการของท่านให้มากที่สุด ให้ดูรายการวัสดุหลายๆ บริษัท

ในแบบที่ท่านเลือก จะระบุขนาดพื้นที่ใช้สอยไว้ว่า แบบบ้านนั้นมีพื้นที่ใช้สอยมีขนาดกี่ตารางเมตร สเปคตามที่ท่านเลือกราคาค่าก่อสร้างเท่าไร ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถหาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรได้

เอาค่าก่อสร้างของแต่ละบริษัทฯ มาหาค่าเฉลี่ย ผลที่ได้คือราคาค่าก่อสร้าง ต่อตารางเมตรของบ้านที่เราจะสร้างคูณด้วยพื้นที่ใช้สอย ที่เราต้องการ จะสร้าง ผล คือ งบประมาณที่จะใช้ในการสร้างบ้านของท่านนั่นเอง


งบประมาณในการทำรั้ว
มีบ้านก็ต้องมีรั้ว การประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องรั้ว ทำได้โดยการขอข้อมูลจากบริษัทรับสร้างบ้าน และผู้รับเหมาหลายๆ รายนำมาหาค่าเฉลี่ยว่าราคาประมาณเมตรละเท่าไร (หน่วยเป็นเมตรนะครับ ไม่ใช่ตารางเมตร) เอาราคาต่อเมตรนั้น คูณด้วยความยาวของรั้วที่ท่านจะทำ ก็พอจะได้งบประมาณคร่าวๆ
แต่วิธีการนี้ใช้ได้ดี สำหรับรั้วที่กั้น ด้าน ซ้าย ขวา และ ด้านหลังของบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน ไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามเหมือนอย่างรั้วหน้าบ้าน
ราคาต่อเมตรของรั้วด้านหน้านั้น ขึ้นอยู่กับดีไซน์ที่ท่านอยากจะได้ ท่านอาจจะขอดูตัวอย่างรั้วหน้าบ้าน ที่เขาสร้างไว้แล้วและถามราคาดู เพื่อเป็น ไอเดียในการ ตั้งงบประมาณของเรา และอย่าลืมถาม ขนาด ความยาว และ จำนวนต้นของเสาเข็ม ที่ลงในหนึ่งหลุมด้วย เพื่อประกอบการพิจารณา
งบประมาณอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้
งบประมาณในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา พวกปั๊มน้ำ แท็งก์น้ำ และ ดวงโคม ถ้าที่ดินที่เราจะปลูกสร้าง ไม่เคยมีมิเตอร์ไฟฟ้า และ ประปาเลย การขอมิเตอร์ทั้งมิเตอร์ไฟฟ้า และ มิเตอร์ประปา จะต้องมีการขออย่างละ สองครั้ง โดยครั้งแรกในช่วงเริ่มต้นสร้างบ้านเป็นการขอมิเตอร์แบบชั่วคราว ซึ่งผู้รับสร้างบ้านส่วนใหญ่จะผลักภาระมาให้ท่าน
การขอครั้งที่สองขอเมื่อบ้านเสร็จ จะเป็นการขอมิเตอร์แบบถาวร ซึ่งจะต้องคืนมิเตอร์แบบชั่วคราว โดยท่านจะได้คืนเงินบางส่วน จากการไฟฟ้า และ การประปา ภายหลังจากทำการขอมิเตอร์แบบถาวร
งบประมาณอีกส่วนหนึ่งที่ต้องเตรียมก็คือ งบประมาณในการซื้อดวงโคม โดยเฉพาะเจ้าของบ้านที่ไม่ได้ใช้บริการตกแต่งภายใน แต่แต่งบ้านด้วยตนเอง เพราะผู้รับจ้างสร้างบ้านส่วนใหญ่ ให้โคมไฟตามความจำเป็นในการใช้งานในกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการไฟดาวน์ไลท์ หรือ โคมระย้าก็ต้องจ่ายเพิ่ม
และท่านต้องไม่ลืม งบประมาณที่จะใช้ซื้อ ปั๊มน้ำ และถังเก็บสำรองน้ำไว้ด้วย เพราะเดี๋ยวนี้เป็นของจำเป็นสำหรับบ้านไปแล้ว
งบประมาณสำรองไว้เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว
การสร้างบ้านนั้น หากตกลงราคากับผู้รับสร้างบ้าน ที่ดี ที่มีความซื่อสัตย์ เรียบร้อยแล้วส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาบานปลายในเรื่องงบประมาณ
ที่จะบานปลายจริงๆ อาจจะเป็นตัวท่านเอง เพราะบางครั้งอาจไปเห็นวัสดุ ที่ต้องตาต้องใจขึ้นมา เกิดอยากจะได้และซื้อเพิ่ม ทำให้งบบานปลายครับ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจ และงบประมาณในกระเป๋าของแต่ละคน
วัสดุก่อสร้างที่เจ้าของบ้านชอบเปลี่ยนแปลงตามความชอบของแต่ละคน บ่อยๆ คือ หลังคา วัสดุปูผิวพื้น วัสดุปูผิวผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
การเตรียมเงินสำรองในส่วนนี้ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของแต่ละท่าน
ที่มาข้อมูล: www.selectcon.com
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในบ้าน

น้ำมันเป็นต้นทุนหลักของพลังงานในประเทศไทย ซึ่งเราจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นสาเหตุสำคัญหลักๆ สาเหตุหนึ่งของภาวะขาดดุลการค้า ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นคนคนหนึ่งในเวทีการค้าโลก เมื่อเราประสบภาวะขาดดุลก็หมายถึงเราค้าขายขาดทุน เงินในกระเป๋าเราลดลง เมื่อเงินในตัวเราลดลงก็แปลว่าเราจนลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เราถูกคนอื่นเอาเงินเราไป ถ้าเราประสบภาวะขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ก็จำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินคนอื่นมาแก้ปัญหาความเป็นอยู่เฉพาะหน้า แต่พอเขามาทวงเงินเมื่อไหร่แล้วเรามีปัญหาไม่มีเงินคืน เพราะเงินในตัวไม่มี โดยคนอื่นเขาเอาไป ถ้าเราเบี้ยวไม่จ่าย ต่อไปเขาก็เลิกให้ เลิกคบ ไม่ค้าขายด้วย สุดท้ายพอไม่มีใครค้าขายด้วย เราก็ไม่มีเงินใช้ และตกอยู่ในสภาพที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากแค้น ย่ำแย่ คุณภาพชีวิตตกต่ำ



ฉะนั้นเพื่อไม่ให้ลูกหลานไทยต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัวจากการก่อหนี้จากต่าง ประเทศ และเพื่อรักษาระดับคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป เราควรต้อง ตื่นตัวเพื่อ ช่วยตัวเอง ช่วยพี่น้อง ช่วยลูกหลานของพวกเรา และที่สำคัญที่สุดก็คือช่วยชาติ




บทความนี้จะกล่าวถึงการอยู่อย่างประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในบ้าน เป็นแนวทางที่ไม่ยุ่งยาก ทุกคนสามารถช่วยกัน เป็นผลดีต่อประเทศและตัวของเราเอง วิธีประหยัดพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการมีและใช้ประโยชน์ที่อยู่อาศัยตลอดจนของใช้ในบ้านมี ดังนี้




1.
ออกแบบบ้านและหันทิศทางของบ้านให้เหมาะสม

เลือกซื้อบ้านหรือออกแบบบ้านที่มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีการระบายความร้อนไดดี สำหรับทิศทางของบ้านควรหันหน้าไปในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าสู่ช่องเปิดของอาคารโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์บังแดด เช่น ติดตั้งกันสาดหรือปลูกต้นไม้ช่วยและสร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความ ร้อนได้ดี ตั้งแต่หลังคาจนถึงกรอบผนัง




2.
ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา

การปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาเพื่อลดความร้อนจากแสงแดด จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อการปรับอากาศและการถ่ายเทอากาศ ได้ประโยชน์ในด้านการฟอกอากาศและเพิ่มออกซิเจนรอบๆ บ้านทำในคนในบ้านสดชื่น




3.
เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน

เช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น




4.
ใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า

น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีจำกัด โดยผ่านกระบวนการกรองและฆ่าเชื้อจนสะอาดและบริโภคได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยพลังงานในกระบวนการเหล่านั้น นอกจากนั้นการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยยังเป็นผลทำให้ต้องลงทุนก่อสร้างระบบผลิต และระบบส่งน้ำมากขึ้น ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นการประหยัดพลังงานที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม



-ควรใช้หัวก๊อกน้ำที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้อ่อนลง


-
ปิดก๊อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด


-
ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด


-
ล้างรถด้วยถังน้ำและฟองน้ำ แทนการใช้สายยางฉีดน้ำ


-
ใช้น้ำจากการซักล้าง หรือถูพื้น เพื่อรดน้ำต้นไม้ แทนการใช้น้ำประปาโดยตรง




5.
การใช้เตาหุ้งต้ม

5.1
เตาถ่าน


-
ควรเลือกใช้เตาถ่านชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง


-
เตรียมอาหารสด เครื่องปรุง และอุปกรณ์การทำอาหารให้พร้อมก่อนติดไฟ ไม่ควรติดไฟรอนานเกินไปจะสิ้นเปลืองถ่าน


-
เลือกขนาดของหม้อหรือกะทะให้เหมาะสมกับปริมาณอาหารที่จะปรุง รวมทั้งประเภทของอาหารที่จะปรุง


-
ควรทุบถ่านให้มีขนาดพอเหมาะคือประมาณชิ้นละ 2-4 ซม.


-
ไม่ควรใช้ถ่านมากจนล้นเตา


-
อย่าใช้ถ่านที่เปียกชื้น จะติดไฟยากและสิ้นเปลือง


-
ขจัดขี้เถ้าในรังผึ้งออกให้หมดก่อนที่จะติดไฟทุกครั้งจะได้เผาไหม้ถ่านได้ดี


5.2
เตาก๊าซ


-
ควรเลือกใช้ถังก๊าซที่มีเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)


-
ควรใช้สายยางหรือสายพลาสติกชนิดยาว และมีความยาว 1-1.5 เมตร


-
ตั้งเตาก๊าซให้ห่างจากถังก๊าซประมาณ 1-1.5 เมตร


-
ปิดวาล์วที่หัวเตาและหัวปรับความดันเมื่อเลิกใช้งาน




6.
การใช้หลอดไฟแสงสว่าง

-
ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน


-
หมั่นทำความสะอาดหลอดแสงสว่างและโคมไฟ


-
ใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่ต้องใช้กับสถานที่ที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดคืน ควรใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์


-
บริเวณใดที่เคยใช้หลอดไส้ ควรหันมาเปลี่ยนเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์


-
ใช้หลอดประหยัดพลังงาน เช่น หลอดผอม (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไส้ 4-5 เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ 8 เท่า


-
ใช้แสงธรรมชาติ แทนการเปิดหลอดแสงสว่าง เช่น ห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ทางเดิน เป็นต้น


-
ควรทาสีผนังห้องหรือเลือกวัสดุพื้นห้องที่เป็นสีอ่อน เพราะสีอ่อนสามารถเพื่อช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้องได้ดีกว่าสีเข้ม ทำให้ไม่ต้องใช้หลอดที่กินไฟ(วัตต์)สูงเกินความจำเป็น




7.
การใช้ตู้เย็น

-
เลือกใช้ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์
5

-
เลือกใช้แบบที่มีฉนวนกันความร้อนชนิดโฟมฉีด


-
ตู้เย็นแบบประตูเดียว จะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบ 2 ประตู ในขนาดที่เท่ากัน


-
ใช้ขนาดให้เหมาะสมกับครอบครัว เช่น ครอบครัวขนาด 3-4 คน ควรใช้ตู้เย็นขนาด 4.5-6 คิว


-
ควรตั้งตู้เย็นห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 15 ซม. เพื่อให้มีการระบายความร้อนได้ดี ประหยัดไฟแถมเป็นการยืดอายุการใช้งานอีกด้วย


-
ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะยิ่งตั้งอุณหภูมิให้ต่ำเกินไป จะทำให้คอมเพลสเซอร์จะต้องทำงานหนัก และกินไฟมาก


-
อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยหรือเปิดไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้ตู้เย็นสูงเสียความเย็น คอมเพลสเซอร์ต้องทำงานหนักขึ้น


-
ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ


-
หมั่นทำความสะอาดแผงร้อนที่อยู่ด้านหลังของตู้เย็น




8.
การใช้เครื่องปรับอากาศ

-
เลือกขนาดที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ห้องที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร และมีพื้นที่ห้องขนาด 13-15 ต.ร.ม. ควรใช้ขนาด 7,000-9,000 บีทียู/ชั่วโมง ขนาดพื้นที่ 16-17 ต.ร.ม. ควรใช้ขนาด 9,000-11,000 บีทียู/ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งสามารถขอคำแนะนำจากผู้ผลิตหรือผู้มีความรู้(อาทิ เช่น วิศวกรและการไฟฟ้า)


-
ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งแสดงด้วยหน่วย EER(Energy Efficiency Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างความสามารถในการให้ความเย็นของเครื่อง (บีทียู/ชั่วโมง) ต่อกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ซื้อเครื่องที่มีค่า EER สูงซึ่งจะให้ความเย็นมากแต่เสียค่าใช้จ่ายไฟฟ้าน้อยกว่าเครื่องที่มีค่า EER ต่ำ


-
ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม อย่าปรับอุณหภูมิให้ต่ำเกินไป โดยปกติควรตั้งที่อุณหภูมิ 25 องศา
C

-
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่ให้มีฝุ่นจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง


-
เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์
5

-
เปิดใช้เมื่อจำเป็น




9.
การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับอาบน้ำ

-
ควรเลือกชนิดที่มีที่กักเก็บตุนน้ำร้อน เพราะจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบน้ำไหลผ่านขดลวดความร้อน

-
เลือกขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับครอบครัว เนื่องจากเป็นเครื่องที่ใช้ไฟฟ้ามาก


-
ไม่ควรเปิดเครื่องตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลาถูสบู่ในขณะอาบน้ำ


-
ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน




10.
การใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าหรือกาต้มน้ำไฟฟ้า

-
ใส่น้ำให้พอเหมาะ และถ้าต้มน้ำต่อเนื่อง ควรมีน้ำบรรจุอยู่เสมอ


-
เมื่อเลิกใช้ควรถอดปลั๊กทันที โดยเฉพาะ เมื่อน้ำเดือดและเมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายได้




11.
การใช้เตาไฟฟ้าและเตาอบ

-
ควรเตรียมเครื่องประกอบอาหารให้พร้อม รวมทั้งจัดลำดับการปรุงอาหาร


-
ไม่ควรเปิดเตาไฟฟ้ารอไว้นานเกินไป


-
ใช้ภาชนะประกอบอาหารให้เหมาะสม


-
ภาชนะควรมีก้นแบนราบ จะได้สัมผัสความร้อนได้ทั่วถึง


-
ภาชนะไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าเตา จะสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์


-
ภาชนะควรมีฝาครอบปิดขณะหุง จะช่วยให้อาหารสุกเร็วขึ้น


-
ปิดสวิตช์เตาไฟฟ้าก่อนเสร็จสิ้นการทำอาหาร ดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้


-
อย่าเปิดเตาอบบ่อย ๆ เพราะการเปิดประตูแต่ละครั้งจะสูญเสียพลังงาน ประมาณร้อยละ
20



12.
การใช้เตารีดไฟฟ้า

-
ควรตั้งอุณหภูมิ (ความร้อน) ให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง


-
ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมาก ๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัวก่อนจะรีดผ้า


-
อย่าพรมน้ำจนเปียก เพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลืองไฟฟ้า


-
ก่อนรีดผ้าเสร็จควรดึงปลั๊กก่อน เนื่องจากยังมีความร้อนเหลืออยู่พอที่จะรีดต่อได้


-
เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย และประหยัดไฟฟ้า




13.
การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ

-
เลือกขนาดที่เหมาะสมกับครอบครัว


-
ไม่ควรใช้เวลาในการอุ่นข้าวให้นานเกินควร ถอดปลั๊กออกทันทีที่เลิกใช้งาน




14.
การใช้โทรทัศน

-
โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น


-
โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปในขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง


-
ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา


-
โทรทัศน์ขาวดำจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าโทรทัศน์สี


-
ปิดเมื่อไม่มีคนดู


-
ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ สำหรับเครื่องที่มีระบบตั้งเวลาปิด เพราะจะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักนอนหลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง




15.
การใช้ปั๊มน้ำ

-
ควรเลือกซื้อเครื่องสูบน้ำที่มีถังความดันของเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่พอสมควร ถ้าเล็กเกินไปสวิตช์อัตโนมัติจะทำงานบ่อยขึ้นมอเตอร์ทำงานมากขึ้นเปลือง ไฟฟ้า


-
ควรสร้างบ่อพักน้ำไว้ระดับพื้นดิน


-
หมั่นดูแลท่อน้ำประปา และถังพักน้ำของชักโครก อย่าให้ชำรุดหรือรั่ว เพราะจะทำให้เครื่องสูบน้ำทำงานบ่อย สิ้นเปลืองไฟฟ้า


-
ควรบำรุงรักษาเครื่องให้ดีอยู่เสมอ




16.
การใช้เครื่องซักผ้า

-
แช่ผ้าก่อนเข้าเครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซักผ้า

-
ผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป


-
ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก ควรตากผ้ากับแสงแดด หรือในที่มีลมโกร




เชื่อว่าถ้าทุกคนช่วยกันนำแนวทางประหยัดพลังงานข้างต้นไปปฏิบัติอย่างจริง จัง ประเทศไทยลดการนำเข้าพลังงานได้มหาศาล เป็นการผ่อนปรนภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น ระดับปริมาณเงินหมุนเวียนภายในประเทศจะดีขึ้นและ การค้าขายจะคล่องตัวกว่าเดิม
ที่มาจาก www.tanasorn.com
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์


ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ มีดังต่อไปนี้
1 งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phaze )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับ การออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ

1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่

1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง

1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้

1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ

1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ

1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ

1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุย ระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )

สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2 งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phaze )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้

2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )

2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )

2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )

เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3 งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phaze )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )

3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )

3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )

3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )

3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว
  • รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน

รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน มีรายละเอียดของแบบพิมพ์เขียว ดังนี้



แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบแสดงรายละเอียดของอาคารประกอบด้วย - รายการสารบัญแบบ รายการวัสดุพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน - รายการประกอบแบบ แสดงรายละเอียดตั้งแต่การเตรียมงานก่อสร้าง การเตรียมพื้นที่ งานฐานราก งานโครงสร้าง งานหลังคา ประตูหน้าต่าง งานสี งานฝ้าเพดานและรายละเอียดอื่น ๆ

- แบบผังบริเวณ แสดงการระบายน้ำออกนอกอาคาร

- แบบแปลนบ้านทุกชั้น แสดงรายละเอียดขนาดกว้างยาวของแต่ละห้องอย่างละเอียด พร้อมระบุรายการวัสดุที่ใช้

- แบบรูปด้านตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน

- แบบรูปตัดแสดงรายละเอียดความสูงของตัวบ้าน รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดโครงหลังคา

- แบบขยายรายละเอียดบันได ระบุวัสดุที่ใช้ทำพื้น ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน รายละเอียดราวบันได

- แบบขยายรายละเอียดห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุรายการวัสดุพื้น ผนัง รายการสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ในห้องน้ำอย่างละเอียด

- แบบขยายรายละเอียดประตู หน้าต่าง พร้อมระบุชนิด ขนาด วงกบ อุปกรณ์บานพับ มือจับ ลูกบิด กลอน

- แบบขยายรายละเอียดอื่นๆ เช่น รายละเอียดส่วนตกแต่ง เช่น คิ้ว บัว กระถางต้นไม้



แบบวิศวโครงสร้าง เป็นแบบแสดงรายละเอียดงานโครงสร้าง ประกอบด้วย
-แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด

- แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด

- แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป

- แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง

- แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้

- แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็ก การรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต

- แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายการเสริมเหล็กบันได พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายส่วนโครงสร้างอื่นๆ เช่น เอ็นทับหลัง ระเบียง ม้านั่ง เป็นต้น



แบบวิศวสุขาภิบาล เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบสุขาภิบาลของอาคาร ประกอบด้วย

- รายการประกอบแบบสุขาภิบาล มาตรฐานการติดตั้ง และรายการวัสดุที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบระบบสุขาภิบาลทุกชั้น แสดงรายระเอียดการเดินท่อ ชนิดและขนาดของท่อ แสดงการระบายน้ำ ตำแหน่งบ่อพักน้ำรอบตัวบ้าน การต่อมิเตอร์จากท่อประปาสาธารณะ

- แบบขยายรายละเอียดการเดินท่อในห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุชนิดและขนาดท่ออย่างละเอียด

- แบบขยายรายละเอียดถังบำบัดน้ำเสีย พร้อมระบุชนิดและรายละเอียดการติดตั้ง

- แบบขยายรายละเอียดการติดตั้งสุขภัณฑ์ทุกชนิดอย่างละเอียด



แบบวิศวไฟฟ้า เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบไฟฟ้าของอาคาร ประกอบด้วย

- แบบแปลนไฟฟ้าทุกชั้น แสดงรายละเอียดการติดตั้งดวงโคม สวิทซ์ ทุกชั้น

- แบบแปลนไฟฟ้าแสดงรายละเอียดการติดตั้งปลั๊กไฟ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กทีวี ไฟฉุกเฉิน กริ่งไฟฟ้า และแผงสวิทซ์บอร์ดทุกชั้น - รายการประกอบแบบไฟฟ้า ระบุชนิด ยี่ห้อดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างละเอียด

- มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ



แบบขออนุญาตก่อสร้าง : เป็นแบบก่อสร้างที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง และจะต้องส่งแบบ เพื่อขออนุญาต ก่อสร้างตามข้อกำหนดต่าง ๆที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนดไว้ ประกอบด้วย



- รายการประกอบแบบ : บอกถึงรายละเอียดวัสดุ โครงสร้าง ข้อกำหนดของวัสดุ กำลังวัสดุที่ออกแบบไว้

- ผังบริเวณก่อสร้าง : บอกถึงขอบเขตที่ดิน แนวถอยร่นของตัวอาคาร ตามพระราชบัญญัติ



ระบบบำบัดน้ำเสีย และแนวท่อระบายน้ำ รวมถึงตำแหน่งการระบายน้ำออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ ทิศของตำแหน่งอาคาร ซึ่งแบบผังบริเวณนี้ จะเป็นแบบที่ใช้วาง ตำแหน่งของอาคารในพื้นที่จริง และจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในพื้นที่จริงว่าถูกต้องหรือไม่



- แผนที่สังเขป : บอกถึงแผนที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่จริงของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประโยชน์ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง

- แปลนพื้นทุกชั้น และ แปลนหลังคา

- รูปด้าน อย่างน้อย 2 ด้าน (ส่วนใหญ่จะทำรูปด้านทั้ง 4 ด้าน)

- รูปตัด อย่างน้อย 2 รูป

- รูปขยายบันได พร้อมรูปตัดบันได (กรณีอาคาร 2 ชั้นขึ้นไป)

- รูปขยายห้องน้ำ

- แปลนโครงสร้างทุกชั้น และแปลนโครงสร้างหลังคา

- รูปขยายโครงสร้าง

- แปลนระบบสุขาภิบาล

- แบบขยายระบบระบบบำบัดน้ำเสีย

- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ+สำเนาบัตรสมาชิกสภาวิศวกร

- หนังสือรับรองการออกแบบของสถาปนิก พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก กส.

- หนังสือรับรองการออกแบบของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกร กว.

- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมลายเซ็นของวิศวกรทุกแผ่น

- หนังสือรับรองการควบคุมงานของวิศวกรและ/หรือสถาปนิก (แล้วแต่ข้อตกลงในกรณีต้องใช้)



หากท่านได้จัดจ้างให้ผู้ออกแบบทำแบบยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่านจะต้องได้ เอกสารเหล่านี้ครบถ้วน (ส่วนใหญ่จะเป็นขอบเขตงานแบบของการทำงาน จากสำนักงานเขต,เทศบาลหรือ อ.บ.ต. บางแห่ง
ที่มาจาก: http://www.novabizz.com/

รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ

รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141

แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี

รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)

เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!!  สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Line:  line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล :   baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ :   http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/


รับออกแบบบ้านและอาคาร 
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต.  กนอ.  นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว  แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ  วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ  วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ     
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์  และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด 
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา  
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร  รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา   
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์  โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ  ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า  
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์  ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector