บ้านกับการประหยัดพลังงาน
วิรัช ปัณฑพรรธ์นกุล
ที่มา : วารสารประสิทธิภาพพลังงาน ฉบับที่ 53
ที่มา : วารสารประสิทธิภาพพลังงาน ฉบับที่ 53
การประหยัดพลังงานนั้นในปัจจุบันมีการกล่าวถึงอย่างมาก ว่ามีความจำเป็นมากขึ้นสำหรับสังคม เนื่องจากการใช้พลังงานอย่างไม่ประหยัดและไม่มีประสิทธิภาพเป็น ส่วนหนึ่งของหลายสาเหตุที่ทำให้สูญเสียงบประมาณของประเทศชาติไป มาก พลังงานที่ปัจจุบันพวกเรากำลังใช้อยู่นี้ส่วนหนึ่งผลิตจากน้ำมั นซึ่งประเทศของเราไม่สามารถผลิตได้มากเพียงพอ รัฐจะต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพยากรธรรมชาติน ี้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับพวกเรา อย่างที่พวกเราได้พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันว่ามีการรณรงค์ให้ประ หยัดและลดการใช้พลังงานทุก ๆ คนจึงน่าจะมีส่วนร่วมไม่มากก็น้อย สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือการปลูกฝังจิตสำนึกในการประหยัดการ ใช้พลังงานตั้งแต่ที่บ้าน เพราะอย่างน้อยเราทุกคนจะมีความรู้สึกว่าได้รับประโยชน์กับตนเอ งและครอบครัว คือสามารถช่วยให้รายจ่ายจากการใช้ไฟฟ้าหรือทรัพยากรอื่น ๆ ภายในครอบครัวลดลง ซึ่งเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของทุก ๆ ครอบครัวก็สามารถลดการใช้ทรัพยากรของประเทศรวมทั้งงบประมาณได้เ ป็นจำนวนมหาศาล การที่มีบทความจำนวนมาก ๆ ออกมากล่าวถึงวิธีการประหยัดพลังงานภายในบ้านนั้น เป็นสิ่งที่ดีและเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสำนึกในการประหยัดอย่างถาวรแ ละยั่งยืน มีหลาย ๆ โครงการที่น่าสนใจและมีประสิทธิผลการประหยัดพลังงาน ไม่ได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เป็นเพียงการรณรงค ์อย่างชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น บางทีก็เป็นเพียงแต่การกระทำตามสมัยนิยมขาดการปฏิบัติอย่างต่อเ นื่องในหลายองค์กร เพราะเนื่องจากคนส่วนหนึ่งคิดว่าตนเองไม่ได้เสียผลประโยชน์สักเ ท่าไรนัก
จากการศึกษาผลงานของนักวิจัย และอาจารย์หลาย ๆ ท่านพบว่ามีวิธีการมากมายในการประหยัดพลังงานแต่ขอสรุปออกมาง่า ย ๆ เพื่อความเข้าใจต่อหลายท่านผู้สนใจ แต่คงไม่ลงไปในรายละเอียดมากนัก เพราะไม่ได้เป็นผู้ที่ทำวิจัยทางด้านพลังงานโดยตรง อาศัยความรู้ความเข้าใจจากการศึกษาและประสบการณ์เล็กน้อยที่ได้ รับมาบอกต่อ ๆ กันเท่านั้น มีบางบทความนั้นเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากในการนำไปใช้แต่การเข ้าถึงรายละเอียดมากจนอาจจะทำให้ผู้ที่สนใจที่ไม่มีพื้นฐานความร ู้ทางด้านการประหยัดพลังงาน ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ จึงควรมีการถ่ายทอดด้วยวิธีที่ง่ายต่อความเข้าใจควบคู่กันไปด้ว ย
จากการศึกษาผลงานของนักวิจัย และอาจารย์หลาย ๆ ท่านพบว่ามีวิธีการมากมายในการประหยัดพลังงานแต่ขอสรุปออกมาง่า ย ๆ เพื่อความเข้าใจต่อหลายท่านผู้สนใจ แต่คงไม่ลงไปในรายละเอียดมากนัก เพราะไม่ได้เป็นผู้ที่ทำวิจัยทางด้านพลังงานโดยตรง อาศัยความรู้ความเข้าใจจากการศึกษาและประสบการณ์เล็กน้อยที่ได้ รับมาบอกต่อ ๆ กันเท่านั้น มีบางบทความนั้นเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากในการนำไปใช้แต่การเข ้าถึงรายละเอียดมากจนอาจจะทำให้ผู้ที่สนใจที่ไม่มีพื้นฐานความร ู้ทางด้านการประหยัดพลังงาน ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ จึงควรมีการถ่ายทอดด้วยวิธีที่ง่ายต่อความเข้าใจควบคู่กันไปด้ว ย
แนวทางการประหยัดพลังงานภายในบ้านคงต้องแบ่งออกเป็น 3 กรณีเพราะแต่ละกรณีต่างมีข้อจำกัดมากน้อยต่างกัน คือ
1. สำหรับบ้านที่ออกแบบใหม่ยังไม่ได้ก่อสร้าง
การจะประหยัดพลังงานคงจะสามารถทำได้มากที่สุดเราสามารถนำทุกวิธ ีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน ข้อจำกัดที่สำคัญก็คืองบประมาณในการก่อสร้างถ้าเรามีมากเพียงพอ เราสามารถที่จะหาวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงในการประหยัดพลังงานแ นวทางการประหยัดพลังงานคงต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนในการออกแบ บ ในกรณีนี้มีความจำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิกที่ สามารถให้คำปรึกษาได้ จะมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับพฤติกรรมใช้พลังงานอย่างประหยัด ของผู้อาศัยภายในบ้านนั้นด้วย
2. สำหรับบ้านที่สร้างแล้วแต่มีความต้องปรับปรุงซ่อมแซม1. สำหรับบ้านที่ออกแบบใหม่ยังไม่ได้ก่อสร้าง
การจะประหยัดพลังงานคงจะสามารถทำได้มากที่สุดเราสามารถนำทุกวิธ ีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน ข้อจำกัดที่สำคัญก็คืองบประมาณในการก่อสร้างถ้าเรามีมากเพียงพอ เราสามารถที่จะหาวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงในการประหยัดพลังงานแ นวทางการประหยัดพลังงานคงต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนในการออกแบ บ ในกรณีนี้มีความจำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิกที่ สามารถให้คำปรึกษาได้ จะมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับพฤติกรรมใช้พลังงานอย่างประหยัด ของผู้อาศัยภายในบ้านนั้นด้วย
การปรับปรุงบ้านในกรณีนี้เราคงสามารถปรับปรุงในส่วนที่เป็นเปลื อกของอาคารและส่วนที่ไม่กระทบกับโครงสร้างของอาคารหรือให้กระทบ น้อยที่สุดรวมทั้งจำเป็นต้องอาศัยพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยเข้าช ่วยร่วมกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของบ้าน
3. สำหรับบ้านที่เดิมที่ต้องการลดการใช้พลังงาน
การประหยัดพลังงานในกรณีนี้คงจะทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่จะเป็นการใช้งบประมาณต่ำที่สุดในการที่จะเริ่มการประหยัดพลั งงานภายในบ้าน วิธีการนี้คงเหมาะสมกับบ้านส่วนใหญ่ที่ต้องการจะประหยัดพลังงาน เพราะคงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบ้านหรือสร้างบ้านใหม่อยู่บ่อยคร ั้งนัก การลดการใช้พลังงานในบ้านมีมากมายหลายวิธีถึงแม้ว่าจะไม่มีประส ิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับบ้านที่มีการออกแบบให้มีการประหยัดพลัง งานตั้งแต่แรก
การที่แบ่งแนวทางการประหยัดพลังงานนี้ออกมาให้ชัดเจนน่าจะเป็นป ระโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเพื่อทราบถึงวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำไปใช ้จริง ด้วยความจริงที่ว่าหากเราต้องการประหยัดพลังงานแล้ว ก็คงไม่สามารถทุบบ้านเดิมทิ้งเพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ทันที สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเหมาะสมเพราะหากเราสามารถประหยัดพลัง งานเพื่มขึ้นแต่กลับต้องเสียงบประมาณจนเกินความจำเป็นก็คงไม่เป ็นประโยชน์สักเท่าใดนัก เช่นเดียวกับการประหยัดพลังงานภายในบ้านนั้นก็สามาถทำได้ในระดั บหนึ่งโดยแทบที่จะไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่มเติมจากเดิมเลย หากมีการการใช้ความรู้ควบคู่กับความเหมาะสมเป็นเครื่องมือ ในทางกลับกันหากขาดความเหมาะสมแล้วการใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพ สูงในการประหยัดพลังงานก็ไม่สามารถจะประหยัดงบประมาณได้ ถึงแม้ว่าจะมีการวิเคราะห์ประเมินหาความคุ้มทุนแล้วก็ตามเพราะว ัสดุบางชนิดอาจมีอายุการใช้งานต่ำ หรือบางครั้งวัสดุนั้นก็มีประสิทธิภาพเสื่อมถอยลง อันเนื่องมาจากสิ่งที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ส่วนการประหยัดพลังงานสำหรับบ้านหลังเดิมนั้น คงมีความจำเป็นที่ต้องพิ่งพาอาศัยพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานเ ข้าร่วมด้วยมากเป็นพิเศษควบคู่กับวิธีการประหยัดอื่น ๆ
การออกแบบบ้าน นั้นมีตัวแปร สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นหลัก คือ
- ประโยชน์ใช้สอย (Function)
- วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง (Material)
- สภาพแวดล้อมคือภูมิอากาศและภูมิประเทศ (Environment)
ตัวแปรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบ บ จะเห็นได้ว่าตัวแปรที่กล่าวข้างต้นต่างเป็นส่วนหนึ่ง ที่นำมาคำนึงถึงเพื่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้อยู่อาศัยภา ยในบ้านทั้งสิ้น ตัวแปรเหล่านี้สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสภาวะที่เหมา ะสม ทั้งที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทันที คือ ห้องที่เหมาะสมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง ขนาด สภาพของภายใน ตลอดจนความสวยงามที่เป็นรูปธรรม ส่วนสภาวะที่เหมาะสมที่ไม่สามารถมองเห็นนั้น เป็นสภาวะที่สัมผัสได้ และมีอิทธิพลต่อพวกเราอย่างมาก คือ สภาวะของความเหมาะสมที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย เราไม่สามารถกำหนดหรือบอกได้เป็น อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง (Temperature) เท่านั้น ยังมีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ความเร็วลม (Velocity) และอื่น ๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์ในการสร้างสภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) ให้เกิดขึ้นได้ เราสามารถสังเกตได้จาก เรือนไทย ไม่ว่าจะเป็นเรือนโบราณหรือเรือนไทยในปัจจุบันเรามักจะสัมผัสได ้อย่างชัดเจนว่า เราจะรู้สึกเย็นสบายถึงแม้ว่าอุณหภูมิรอบตัวหรือสภาพแวดล้อมในข ณะนั้นจะไม่ได้อยู่ในสภาวะน่าสบายก็ตาม
ลักษณะของวิธีการสร้างสภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) มี 2 ประเภทด้วยกันคือ
Passive เป็นวิธีการที่สามารถประหยัดพลังงานมากเพราะใช้ระบบตามธรรมชาติ มาเป็นเครื่องสร้างสภาวะน่าสบาย เช่น การวางแนวยาวของอาคารขวางกับทิศทางของลม เพื่อให้ลมพาเอาความเย็นเข้ามา หรือพาเอาความร้อนออกไป การใช้ต้นไม้และร่มเงาไม้ควบคุมทิศทางลม การใช้หลังคาทรงสูงเพื่อลดอุณหภูมิของห้องและสร้างปรากฏการณ์เล ียนแบบธรรมชาติเพื่อควบคุมการไหลของลม ลักษณะวิธีการสร้างสภาวะน่าสบายแบบนี้จำเป็นต้องใช้หลายวิธีด้ว ยหลักการบูรณาการ (Integration) เข้ามาร่วมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
Active เป็นวิธีการที่ง่ายและได้สภาวะน่าสบายที่รวดเร็วที่สุด ในปัจจุบันใช้อย่างแพร่หลาย คือ ระบบการปรับอากาศ (Air condition system) การใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อปรับสภาพภายในบริเวณที่เราต้องกา รให้เกิดสภาวะน่าสบายเกิดขึ้น แต่เป็นวิธีการที่ต้องใช้พลังงานสูง และคนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมากเกินความ จำเป็น
ปัจจัยในการสร้างสภาวะน่าสบายและการประหยัดพลังงานสำหรับบ้าน
การวางตำแหน่งและทิศทางของบ้าน (Orientation) เป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเร็วลม เราสามารถที่จะวางอาคารเพื่อขวางกับทิศทางของลม เพื่อให้ลมพาเอาอุณหภูมิสูงออกจากตัวบ้านไป โดยทั่วไปแนะนำให้วางอาคารแนวยาวหันไปทางทิศเหนือ-ใต้ เพื่อรับลมมรสุมตามฤดูกาลและลดผนังไม่ให้แนวยาวหันไปทางทิศตะวั นออก-ทิศตะวันตกที่รับเอาแสงอาทิตย์ โดยตรง (Direct Sun) มากจนเกินไป การวางอาคารไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมใกล้กับแหล่งน้ำ บ่อน้ำ ต้นไม้ใหญ่ จะสามารถลดอุณหภูมิของลมก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณบ้าน รวมทั้งใช้ร่มเงาในการป้องกันความร้อนได้ *(1)
การปรับสภาพแวดล้อมของบ้านอาจมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางตำแ หน่งอาคาร หากเราวางตำแหน่งอาคารอย่างเหมาะสมแล้วอาจไม่เพียงพอ การปรับสภาพแวดล้อมก็สามารถกระทำควบคู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การประหยัดพลังงาน เราสามารถปลูกต้นไม้ หรือขุดบ่อน้ำเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมได้เช่นกั น *(1)* (2) *(3)
รูปแบบลักษณะอาคาร เป็นที่น่าสนใจที่ลักษณะเรือนไทยที่เป็นเรือนเล็ก ๆ เชื่อมต่อด้วยระเบียงหรือชานบ้านนั้นเป็นวิธีที่ช่วยให้ลมสามาร ถพัดพาเอาความร้อนออกไปได้อย่างดี การยกใต้ถุนสูงเป็นการสร้างพื้นที่ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพและเห มาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศอย่างยิ่ง ลมสามารถพัดพาเอาความร้อนออกไปสามารถใช้ความเย็นจากพื้นดินอีกท ั้งสามารถป้องกันน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านให้มีลักษณะที่โปร่งให้ลมสามารถพัดผ่านไปในส่วนต่ าง ๆ ของบ้านจะสามารถลดการใช้เครื่องปรับอากาศได้มาก *(1)
การออกแบบที่ว่างและการวางผังภายในอาคาร การวางผังและการออกแบบที่ว่างของบ้านเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยได ้มาก เราสามารถนำพฤติกรรมการใช้ที่ห้องต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีการนี้เราจะสามารถลดการใช้พลังงานในการปรับอากาศในห้อง ต่าง ๆ ได้
- เราสามารถใช้ห้องน้ำหรือช่องบันไดเป็นส่วนปะทะความร้อนทางด้านท ิศตะวันตกและด้านทิศใต้เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านหรือห้อ งอื่น ๆ ได้ เนื่องจาก ห้องน้ำ เป็นส่วนที่มีความชื้นสูงรวมทั้งเราใช้เวลาในการอยู่ในห้องน้ำไ ม่นานมาก และความจำเป็นที่ต้องใช้การปรับอากาศน้อย เช่นเดียวกันเราสามารถใช้ห้องเก็บของหรือห้องที่ไม่ได้ใช้เวลาอ ยู่ภายในนั้นเป็นเวลานานมากเป็นส่วนปะทะความร้อนได้เช่นเดียวกั นโดยหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งห้องที่ต้องการการปรับอากาศและห้อง ที่ใช้เกือบตลอดเวลาไว้ที่ตำแหน่งรับความร้อนโดยตรง *(1)
- การใช้ฝ้าเพดานที่สูงนั้นเหมาะสมกับการใช้การสร้างสภาวะน่าสบาย แบบ Passive เพราะอากาศที่ร้อนจะน้ำหนักเบากว่า จะลอยตัวสูงขึ้นทำให้ อากาศเย็นที่มีน้ำหนักมากกว่าลอยต่ำลงมา ในทางกลับกันหากต้องการใช้ การสร้างสภาวะน่าสบายแบบ Active นั้นการทำฝ้าเพดานที่ต่ำจะทำให้ภาระการทำงานของเครื่องปรับอากา ศลดลงและสามารถควบคุมอุณหภูมิของห้องได้อย่างสม่ำเสมอ จึงควรเลือกลักษณะที่ว่างให้เหมาะสม *(1) *(2)
ผนัง หลักที่สำคัญคือออกแบบผนังให้ถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านน้ อยที่สุดการใช้วัสดุที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้อุณหภูมิภายในบ้ านหรือห้องสูง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการปรับลดอุณหภูมิภายในมากขึ้น เนื่องมาจากความร้อนสามารถถ่ายเท (Heat transfer) เข้ามาสะสมภายในผิวอาคารได้มาก การใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง ในการประหยัดพลังงานนั้นอาจจะทำให้งบประมาณในการก่อสร้างสูงขึ้ นมากจึงควรเลือกใช้กับผนังที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดรายจ่ายเพรา ะบางกรณีอาจจะเปลืองหรือเกินความจำเป็นได้
- ใช้ผนังที่มีการออกแบบใช้ฉนวนกันความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพกับ ผนังด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เพราะเป็นด้านที่หันเข้าหาแสงและรับความร้อนจากอาทิตย์โดยตรง (Direct sun) *(1) *(2)
-ควรใช้ผนังที่ก่อขึ้นจากคอนกรีตมวลเบาแทนผนังทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ดีในระดับหนึ่งเมื่อเป รียบเทียบกับคอนกรีตบล็อก หรืออิฐมอญทั่วไปโดยมีราคาสูงกว่าไม่มากแต่สามารถก่อสร้างได้รว ดเร็วกว่าและมีน้ำหนักค่อนข้างเบา *(1) *(2)
- ควรเลือกใช้ผนังสีอ่อนทั้งภายในและภายนอกเพื่อการสะท้อนแสงรวมท ั้งลดการดูดกลืนความร้อนของผนังอีกด้วย การใช้ผนังสีอ่อนจะช่วยให้ห้องภายในสว่างขึ้นสามารถลดการใช้แสง จากไฟฟ้าได้ และสามารถใช้แสงธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ *(1) *(2)
-เลือกคุณสมบัติของวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้ผนังคอนกรีตที่มีความหนามากหรือมวลมากกับห้องที่ใช้เฉพาะ ช่วงเวลากลางวัน เพราะช่วงเวลากลางวันนั้นภายในจะเย็น เนื่องจากตัวผนังที่มีมวลมากสามารถหน่วงเวลาการส่งผ่านความร้อน ได้ดี ผนังจะมีการสะสมความเย็นไว้เกือบตลอดทั้งคืนแล้วมาคายความเย็นอ อกมาในเวลากลางวัน ส่วนหลังจากนั้นความร้อนจะถูกสะสมเข้ามาแทนที่ทำให้ผนังมีความร ้อนสะสมอยู่มากทำให้ห้องนั้นร้อน ไม่เหมาะสมในการใช้งานในช่วงเวลาหัวค่ำถึงกลางคืน จะสามารถทำให้ลดการใช้วัสดุราคาแพงได้บ้าง *(1)
- การใช้ผนังสองชั้นที่มีช่องอากาศอยู่ภายในก็สามารถช่วยป้องกันค วามร้อนที่ส่งผ่านเข้ามาในบ้านได้มาก หากมีการออกแบบให้มีการระบายความร้อนออกจากช่องอากาศที่อยู่ตรง กลางจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น
ช่องแสง เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง เนื่องจากความร้อนสามารถผ่านเข้ามาในอาคารได้ง่ายมากโดยเฉพาะอย ่างยิ่งส่วนที่เป็นกระจก ฉะนั้นการเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติการสะท้อนความร้อนสูงจะช่วยใ ห้เราสามารถลดความร้อนที่จะเข้ามาในตัวอาคารได้มาก แต่ในทางกลับกันช่องแสงทำให้เราสามารถใช้แสงธรรมชาติได้มาก ลดการใช้แสงจากไฟฟ้าด้วย
-หากมีงบประมาณสูงเราสามารถใช้กระจกสองชั้น (Double Glazing) ที่มีช่องว่างอากาศเพื่อป้องกันความร้อนลักษณะเฉพาะของกระจกชนิ ดนี้จะมีการเคลือบสารบางอย่างในการสะท้อนความร้อน รวมทั้งบรรจุก๊าซบางชนิดเพื่อลดการเกิดความชื้นภายในกระจกชนิดน ี้สามารถให้แสงผ่านได้ในปริมาณสูง *(1) *(2)
-การใช้กระจกสะท้อนแสงและความร้อน (Reflective glass) กระจกนี้จะมีคุณสมบัติต่ำกว่ากระจกสองชั้น (Double Glazing) แต่สามารถลดทั้งปริมาณความร้อนและแสงสว่างที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร ในขณะเดียวกันก็เป็นกระจกที่สามารถเก็บกักความร้อนอีกด้วยเหมาะ แก่เมืองหนาวมากกว่า *(1) *(2)
-หากไม่มีงบประมาณมากการใช้กระจกชนิดที่มีราคาต่ำกว่า แต่เลือกใช้กระจกสี เช่น สีชา ก็สามารถช่วยได้มากกว่าการใช้กระจกธรรมดา *(1) *(2)
ช่องอากาศ การเพิ่มความเร็วลมที่เข้าสู่ตัวบ้าน ให้เกิดการระบายอากาศภายในบ้านช่วยให้สามารถลดการใช้การปรับอาก าศภายในได้มาก
-การเพิ่มช่องเปิด จะเพิ่มความเร็วลมที่เข้าสู่ตัวบ้าน การใช้และการเจาะช่องเปิดที่เหมาะสมจะช่วยให้การสะสมความร้อนภา ยในบ้านลดลง *(1) *(2)
-การเจาะช่องเปิดด้านเดียว ลมไม่สามารถผ่านเข้าในห้องได้มากนัก ควรเปิดหน้าต่างที่อยู่ห่างกันมากที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพใ นการระบายอากาศ (Single ventilation) *(1) *(2) *(3)
-การเจาะช่องเปิดที่ผนังตรงกันข้ามและมีขนาดเท่ากัน ที่ตำแหน่งเดียวกันนั้นจะทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดีที่สุด (Cross ventilation) *(1) *(2) *(3)
-การเจาะช่องเปิดที่ทางเข้าของลมต่ำและให้ทางออกอยู่สูงกว่า จะทำให้เกิดกระแสลมที่เย็นสบาย เป็นการสร้างสภาวะธรรมชาติ เพื่อให้อากาศเกิดการแลกเปลี่ยนความกดอากาศกัน อากาศเย็นไล่อากาศร้อนออกไปจากห้อง *(1) *(2)
-การเจาะช่องเปิดให้อยู่ในระดับสูงทั้งสองทาง จะทำให้พื้นที่ส่วนล่างของห้องอับลม ไม่สามารถระบายอากาศภายในห้องได้มากเท่าไรนัก
- ช่องเปิดที่มีทางออกของอากาศใหญ่กว่าทางเข้าจะช่วยให้เกิดกระแส ลมเร็วและแรงที่ด้านลมเข้า ในทางกลับกันถ้าทางเข้าใหญ่กว่ากระแสลมที่เข้ามาในห้องก็จะต่ำ *(1) *(2)
-กันสาดและชายคา (Shading devices) การใช้กันสาดจะช่วยลดหรือเลี่ยงมิให้ผนังรับแสงแดดโดยตรงจากดวง อาทิตย์การใช้ Shading devices นี้เป็นการลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารโดยตรง การใช้ Shading devices พบว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันความร้อนสามารถช่วยให้ลดก ารใช้พลังงาน ภายในบ้านได้มาก ลักษณะของ Shading devices ได้แก่ กันสาดและชายคาที่ให้ร่มเงากับช่องเปิดรวมทั้งผนังของอาคารด้วย Shading devices บางชนิดถูกออกแบบมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการป้องกันความร้อนโดยตรง ก็ได้
-Shading devices ในแนวตั้ง (Vertical shading devices) มีประสิทธิภาพในการป้องกันผนังด้านที่รับแสงโดยตรงและเป็นเวลาน าน ผนังด้านที่ควรติดตั้ง Shading devices ชนิดนี้คือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก *(1) *(2)
-Shading devices ในแนวนอน (Horizontal shading devices) มีประสิทธิภาพในการป้องกันผนังด้านที่ได้รับแสงในมุมที่สูงอย่า งแสงในช่วงเวลากลางวัน หรือด้านที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง Shading devices ชนิดนี้ สามารถให้แสงที่สะท้อนจากสภาพแวดล้อมเข้ามาได้มาก ผนังด้านที่ควรติดตั้ง Shading devices ชนิดนี้คือด้านทิศเหนือและทิศใต้ Shading devices
-Shading devices แบบตารางเป็นShading devices ที่รวมเอาคุณสมบัติของ Shading devices ในแนวนอน และแนวตั้งไว้ด้วยกันแต่ขึ้นอยู่กับขนาดและความเหมาะสมด้วย *(1) *(2)
หลังคา เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากเนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับความร้อน จากแสงอาทิตย์มากที่สุด ลักษณะหลังคาบ้านเรือนไทยนั้นเป็นลักษณะของหลังคาที่เหมาะสมกับ สภาพภูมิอากาศมาก เพราะมีความลาดชันมากระบายฝนได้รวดเร็ว รวมทั้งความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูง ฉะนั้นการที่หลังคามีความลาดชันสูงมากทำให้ความร้อนภายในจะไปรว มตัวที่จุดที่สูงที่สุดทำให้อากาศภายในห้องด้านล่างมีเพียงอากา ศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
- หลังคาที่มีสองชั้นซ้อนทับกันโดยหลังคาส่วนที่ซ้อนอยู่ข้างบนมี ขนาดเล็ก (ลักษณะคล้ายการใส่หมวก) ก็เพียงพอที่จะช่วยให้การสะสมความร้อนที่ผิวของหลังคาลดลง จะมีประสิทธิภาพเมื่อมีช่องระบายอากาศที่บริเวณหน้าจั่วทั้งสอง ด้าน ความร้อนจะสามารถระบายออกได้ดี *(1) *(2)
-สำหรับบ้านที่มีดาดฟ้าแล้วการปลูกต้นไม้บนดาดฟ้า ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ลดความร้อนที่สัมผัสกับผิวของดาดฟ้ าได้โดยตรง เช่นเดียวกับการใช้ Shading devices หรือการปรับดาดฟ้าให้เกิดความลาดชันมากเพียงพอ *(1) *(2)
-ควรใช้แผ่นสะท้อนความร้อน (Foil) ในส่วนที่เป็นฝ้าเพดานใต้หลังคาหรือดาดฟ้าเพื่อเป็นการลดความร้ อนที่จะเข้ามาภายในบ้านได้ หันด้านที่เป็นมันออกไปด้านนอก การติดแผ่นสะท้อนความร้อนร่วมกับฉนวนป้องกันความร้อนจะช่วยให้ฉ นวนป้องกันความร้อนมีอายุยาวนานมากขึ้น ถึงแม้ว่าแผ่นสะท้อนความร้อนจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อยับหรือมี ฝุ่นบนผิว *(1) *(2)
-จะเห็นได้ว่ามีวิธีในการประหยัดพลังงานที่ใช้ภายในบ้านมากมาย ให้เราสามารถนำไปใช้หากแต่เราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการนำไป ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงบประมาณที่เหมาะสม เพราะบางครั้งการใช้วัสดุคุณภาพสูงอาจทำให้เราต้องนำเข้าจากต่า งประเทศ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นเราควรเลือกใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นหรือผลิตได้ในประเทศก่อนที่จะเลือกใช้วัสดุที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการประหยัดทั้งพลังงานรวมทั้งลดการขาดดุลที่จะต้องนำเ ข้าจากต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยให้เราสามารถประหยัดได้อย่างแท้จริง
ที่มาจาก: www.thaihomemaster.com